About the Journal
วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ISSN: 2392-5507, E-ISSN: 2673-003
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ส่งเสริม และสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสนำผลงานวิชาการและงานวิจัย ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา การศึกษา การบริหารการศึกษา ปรัชญา จิตวิทยาและการแนะแนว ภาษาศาสตร์ การสอนสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาสังคม และสาขาวิชาสหวิทยาการอื่นๆ
บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อ่านประเมินต้นฉบับ จำนวน 2 ท่าน ต่อ 1 เรื่อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind) ซึ่งเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย และการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มีกำหนดออกเผยแพร่ตีพิมพ์ราย 3 ฉบับ ต่อปี (ราย 4 เดือน) ดังนี้
ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม
การตีพิมพ์บทความ
วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีค่าธนรรมเนียมตีพิมพ์บทความจำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ โดยผู้แต่งบทความจะตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามข้อแนะนำสำหรับผู้แต่งใน กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวารสารฯ กองบรรณาธิการวารสาร ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์และไม่คืนเงิน ในกรณีเทียบเคียง ดังนี้
1. บทความของท่านมีความหลายมากกว่า 25% ตามที่ถนนในโปรแกรม CopyCat ในเว็บ Thaijo2
2. ผู้แต่งไม่ปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
3. บทความไม่ผ่านการอ่านประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
4. ผู้แต่งไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอที่กองบรรณาธิการได้แจ้งในระบบตามระยะเวลาที่กำหนด