รูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4

Main Article Content

ณัฐวดี โพธิ์พรมศรี
ธานี เกสทอง
ทนง ทศไกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม จากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน ใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 434 คน สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ ใช้การเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยการบริหารหลักสูตรปฐมวัย องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารหลักสูตร องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการใช้หลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม องค์ประกอบที่ 4 ประสิทธิผลการพัฒนานักเรียนอย่างเป็นองค์รวม 2) การสร้างรูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดและทฤษฎี วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 เนื้อหาและแนวทางการดำเนินงาน ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ และมีผลการตรวจสอบรูปแบบมีความเหมาะสม ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้

Article Details

How to Cite
โพธิ์พรมศรี ณ. ., เกสทอง ธ. ., & ทศไกร ท. . (2024). รูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 341–356. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275604
บท
บทความวิจัย

References

กระทรงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กุลณพัฒน์ พัฐธัญดรรัตน์. (2561). การจัดการศึกษาปฐมวัย : นโยบายและการจัดการเชิงพุทธบูรณาการ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

จุติกาญจน์ สังข์ยิ้ม. (2555). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโยคะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจพร สมานมาก. (2554). รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(3). 77-94.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับบประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2554). พหุปัญญามองคุณค่าทุกความต่าง. กรุงเทพมหานคร: สาราเด็ก แปลนสารา.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์. (2564). การพัฒนาการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย. นครสวรรค์: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์.

สำนักงานส่งเสริมการสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาชน. (2564). เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฏการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล. แหล่งที่มา https://www.qlf.or.th/Home/Contents/1009 สืบค้นเมื่อ 2 เม.ย. 2564.

Willer, D. (1986). Scientific sociology: Theory and method. Englewood Cliff, N.J.: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.