การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา

Main Article Content

จุฬาพร บุญศักดาพร
ธานี เกสทอง
สุวัฒน์ แจ้งจิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครื่องมือการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา และ 2) เพื่อประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้รูปแบบการประเมิน (CIPP Model) เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนและประมาณค่า โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา ด้านการประเมินบริบท ด้านการประเมินปัจจัยเบื้องต้น ด้านการประเมินกระบวนการและด้านการประเมินผลผลิต โดยยึดหลักของไตรสิกขา (1) ศีล การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติ ประกาศ คำสั่ง กฎหมาย (2) สมาธิ การปฏิบัติและฝึกจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรม ความมุ่งมั่นและความตั้งใจ (3) ปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ความรู้ ความสามารถและการคิดวิเคราะห์ การประเมิน ด้านละ 10 ข้อ จำนวน 40 ข้อ และ 2) ผลการประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินบริบท รองลงมา ได้แก่ ด้านการประเมินกระบวนการ ด้านการประเมินผลผลิต และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประเมินปัจจัยเบื้องต้น ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
บุญศักดาพร จ. ., เกสทอง ธ. ., & แจ้งจิต ส. . (2024). การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 553–566. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275546
บท
บทความวิจัย

References

กรีน ผุยปุโรย. (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนโนนสีดาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เจนจิรา วงศ์ทอง. (2566). การประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ CIPP Model ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (9)3. 65-76.

ธันวา ลิ่มสถาพร. (2567). การประเมินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยตามนโยบายอนุบาลโดดเด่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model. แหล่งที่มา http://pbn3.thaismartoffice.com. สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2567.

นิวัฒน์ ตุ่นบุตรเสลา. (2556). การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์การ. วารสารวิทยบริการ. (24)2. 31-42.

ประทีป ไชยเมือง. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอย่างสมดุลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนบดินทรเดชา.

ประวัติ สุทธิประภา. (2567). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสารวิทยา. แหล่งที่มา http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640617_155221_0130.pdf สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2567.

ปวีร์ อัคราธิมากร. (2558). การประเมินผลโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนของสำนักงานเขตบางเขนในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พิยะภา ใจซื่อสมบูรณ์. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ (บ้านบ่อราษฎรบำรุง). การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุพิน รอดประพันธ์. (2567). การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โรงเรียนวัดห้วยธารทหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. แหล่งที่มา http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640617_155221_0130.pdf สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2567.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลชัย ถาวร. (2565). การประเมินโครงการพัฒนาโครงการคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

เสาวลักษณ์ สร้อยสวน. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ประจำปีงบประมาณ 2563.รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.