รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 297 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และคู่มือการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเขียนวิเคราะห์แบบสรุปความแบบเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยได้สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามองค์ประกอบของรูปแบบเชิงข้อความ คือ หลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 และผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยมีผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นประโยชน์ ตามลำดับ สามารถนำไปเป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธธรรม สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ. (2566). โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ. แหล่งที่มา https://www.vitheebuddha.com/main.php?url=schoolt สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566.
จิราวรรณ รินทรา. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรสถานศึกษาในอำเภอสามง่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ณัฐธยาน์ จะนต. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นรภัทร บุญพา. (2556). การศึกษาความสุขในการทำงานของครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ ขุนอาสา. (2532). ผู้บริหารกับการใช้สังคหวัตถุธรรม : ศึกษากรณีผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภวรรณ สุธัมมา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศ ไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2543). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 – 2559. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก
สุพัตรา แซ่ซิ้ม. (2554). ความสุขในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิวัฒน์ จันทร์สม. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kate, M. (2007). Social and academic benefits of looping primary grade students. From http://www.sciencedirect.com/science?-ob=ArticleUR&- Retrieved October 16, 2023.
Smith, J. (2006). Technology-assisted Instruction and Student Advancement. Dissertation Abstract International.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.