แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ ตามหลักภาวนา 4

Main Article Content

ศจี นาคชัยยะ
วรกฤต เถื่อนช้าง
ทนง ทศไกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ตามหลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผล และการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ และมีรายด้านที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ตามหลักภาวนา 4 เป็นการนำการบริหารงานวิชาการ 5 ด้านบูรณาการกับตามหลักภาวนา 5 คือ กายภาวนา สีสภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนา ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา สถานศึกษาควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตัวบุคลากรที่มีคุณธรรมและจริยธรรม การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรับผิดชอบ สร้างวัฒนธรรม การสร้างนโยบายที่เป็นธรรม การเปิดโอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาเข้าสู่กระบวนการบริหารจะช่วยสร้างสถานศึกษาที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ การสนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาที่มีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับผู้เรียน เน้นการสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียน การสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง (4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สถานศึกษามีการสนับสนุนให้ครูนำผลการวิจัยมาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้และพัฒนานักเรียนทั้งร่างกายและจิตใจ (5) ด้านการนิเทศการสอน สถานศึกษาสนับสนุน ส่งเสริมให้สถานศึกษาควรสร้างบรรยากาศที่สร้างสรรค์และส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมกิจกรรมที่เสริมสร้างจิตใจและความสุขในการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อมที่พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์

Article Details

How to Cite
นาคชัยยะ ศ. ., เถื่อนช้าง ว. ., & ทศไกร ท. . (2024). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ ตามหลักภาวนา 4 . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 612–625. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275528
บท
บทความวิจัย

References

โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ.(2566). โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ. แหล่งที่มา https://www.vitheebuddha.com/main.php?url=schoolt สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566.

จิราวรรณ รินทรา. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรสถานศึกษาในอำเภอสามง่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐธยาน์ จะนต. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูษณิศา วรสายัณห์, พระครูภัทรธรรมคุณ และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(2). 335-345.

ศุภวรรณ สุธัมมา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศ ไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

อภิวัฒน์ จันทร์สม. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kate, M. (2022). Social and academic benefits of looping primary grade students. From http://www.sciencedirect.com/science?-ob= ArticleUR&- Retrieved 14 October 2023.

Smith, J. (2006). Technology-assisted Instruction and Student Advancement. Dissertation Abstract International.