ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพยาบาล โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นพยาบาล จำนวน 113 คน โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .835 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ One -way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรมการทำงานแบบสร้างสรรค์ ด้านวัฒนธรรมการทำงานแบบตั้งรับ/เฉื่อยชา และด้านวัฒนธรรมการทำงานแบบตั้งรับ/ก้าวร้าว ตามลำดับ และ 2) การทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ต่างกันมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านสถานะภาพสมรส สำหรับข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งนี้ผู้บริหารของโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ ควรมีนโยบายส่งเสริมให้พนักงานรับฟังเหตุผลและยอมรับซึ่งกันและกันตลอดจน ส่งเสริมให้พยาบาลมีส่วนร่วมในการวางแผนทำงานให้มากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
บุศรา กายี. (2546). วัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุดารัตน์ อ่อนละเอียด. (2551). วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษา กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อัญชลี วิสิทธิ์วงษ์. (2539). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cooke, R. A. & Lafferty, J. C. (1989). Organization Culture Inventory. Minnesota: Human Synergistic
Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper and Row.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Kroeber, A. L. & Kluckhohn, C. (1952). Culture: a critical review of concepts and definitions. Papers. Peabody Museum of Archaeology & Ethnology, Harvard University. 47(1). 223.