ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ เดอะ เกรท เฮ้าส์ พูลวิลล่า เขาชีจรรย์ พัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุพรรณพักตร์ ลีกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ เดอะ เกรท เฮ้าส์ พูลวิลล่า เขาชีจรรย์ พัทยา จังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้เดอะ เกรท เฮ้าส์ พูลวิลล่า เขาชีจรรย์ พัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย Independent Samples t - test และ One way ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้ Independent Samples t - test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ เดอะ เกรทเฮ้าส์ พูล วิลล่าเขาชีจรรย์พัทยา จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ ตามลำดับ และรายด้านที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านราคา ตามลำดับ และ 2) การทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศอายุสถานภาพสมรสระดับการศึกษาอาชีพ และรายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจในการใช้บริการโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารของบริษัท ควรมีนโยบายส่งเสริมอบรมให้พนักงานมีความเรียบร้อย กริยามารยาทที่ดี ความเป็นมิตร และความซื่อสัตย์ เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ เดอะ เกรท เฮ้าส์ พูลวิลล่า เขาชีจรรย์ พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ลีกุล ส. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ เดอะ เกรท เฮ้าส์ พูลวิลล่า เขาชีจรรย์ พัทยา จังหวัดชลบุรี . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 683–694. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275509
บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท ผุดผ่อง. (2548). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมในเกาะสมุย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). ประเภทของสถานพักแรมและโรงแรม. แหล่งที่มา http://www.tat.or.th. สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค. 2566.

ขวัญหทัย สุขสมณะ. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จินตนา บุญบงการ. (2539). การสร้างจิตสำนึกการให้บริการกับการปรับปรุงการบริการภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทองสุข ไชยเลิศ. (2551). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการในโรงแรมขนาดเล็กกรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในเขตอำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย. ภาคนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธนวรรณ แสงสุวรรณ. (2546). การจัดการการตลาด. กรุงเทพมหานคร: เพียรสัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ธภัตศรา การินทร์. (2546). การศึกษาปัจจัยความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพบริการของโรงแรมเดอะรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธัญญารัตน์ บุญต่อ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมเวสติน แกรนด์สุขุมวิท. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลฉวี รตางสุ. (2543). ความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัณนิกา วนากมล และคณะ. (2545). คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ตามการรับรู้ของผู้มารับบริการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะนุช กลิ่นจันทร์. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมซิลเวอร์แซนด์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ไพทูรย์ โพธิสว่าง. (2559). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ : หลักการวิธีปฏิบัติ สถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มานพ ชุ่มอุ่น. (2547). การตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: ครองช่างการพิมพ์.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระวัฒน์. (2539). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ศศิกาญจน์ สุรินทร์ต๊ะ. (2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของผู้ใช้บริการชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การวิจัยอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2541). ประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการ. 1(10). 19-28.

สมาคมโรงแรมไทย. (2557). แหล่งที่มา http://thaihotels.org/ สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค. 2566.

สินินาถ ตันตราพล. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑติ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อณุภา สายบัวทอง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมฮิลตันหัวหินรีสอร์ทแอนด์สปาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2541). ก้าวแรกของ TQM/CQI ในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2558). รายงาน: นักวิจัย สกว. ชี้ ปัญหาการบริหารการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการปฏิรูปการศึกษา. แหล่งที่มา https://knowledgefarm.tsri.or.th/educational-administration-problem/ สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2565.

Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper and Row.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introducting Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.