แรงจูงใจในการปฏิบัติงานยุคใหม่ของพนักงาน บริษัท ไอโซแคลเทคโนโลยี จำกัด

Main Article Content

ลาวัลย์ ทานาแซง
รุ่งรดิศ คงยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไอโซแคลเทคโนโลยี จำกัด และ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไอโซแคลเทคโนโลยี จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการาวิจัยแบบเชิงปริมาณ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 95 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยจูงใจที่อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และปัจจัยจูงใจที่อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ การยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ส่วนปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการปกครองและบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติงาน และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และพนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง อายุงาน รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
ทานาแซง ล. ., & คงยั่งยืน ร. . (2024). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานยุคใหม่ของพนักงาน บริษัท ไอโซแคลเทคโนโลยี จำกัด . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 151–161. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275505
บท
บทความวิจัย

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบัน ราชภัฎอุบลราชธานี.

บริษัท ไอโซแคลเทคโนโลยี จำกัด. (2560). ข้อมูลพื้นฐาน. แหล่งที่มาhttps://www.isocaltechnology.com/contact.html สืบค้นเมื่อ 18 ม.ค. 2565.

ปราโมท ดวงเลขา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตร

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเวย์ จํากัด. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน สำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุธิดา เข็มทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยารามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper and Row.

Herzberg, F., Mausnor B. & Syderman B. B. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

HREX.asia. (2562). แนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ. แหล่งที่มา https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/ สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค. 2565.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.