แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ตามหลักไตรสิกขา

Main Article Content

อรวรรณ พุ่มเกิด
วรกฤต เถื่อนช้าง
ทนง ทศไกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ตามหลักไตรสิกขา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา จำนวน 389 คน ทำวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ในภาพรวมมีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมากทั้งหมด และ 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ด้านที่ 1 3R Reading ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการอ่านตามแผนการดำเนินงาน โดยใช้หลักไตรสิกขา ด้านที่ 2 3R (W) Riting ผู้บริหารกระตุ้นทักษะการเขียนในผู้เรียน โดยมุ่งเน้นที่การสร้างศีลธรรมที่ดี และการจัดกิจกรรมการประกวดเพื่อสร้างเสริมแรงผู้เรียนในการพัฒนาทักษะการเขียนของตนเอง ด้านที่ 3 3R (A) Rithmatic ผู้บริหารสถานศึกษามีวิธีการพัฒนาทักษะด้านการคำนวณของผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามหลักไตรสิกขา และสนับสนุนให้ผู้เรียนมีการแข่งขันและฝึกฝนทักษะการคำนวณอย่างหลากหลาย ด้านที่ 4 8C Critical Thinking and Problem Solving ผู้บริหารสถานศึกษามุ่งสร้างแผนการสอนและกิจกรรม โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้โอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน และใช้สมองในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้านที่ 5 8C Creativity and Innovation ผู้บริหารมีการจัดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ ด้านที่ 6 8C Collaboration Teamwork and Leadership ผู้บริหารสร้างแผนงานหรือโครงการที่สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกลุ่ม เพื่อให้เกิดการฝึกฝนในการจัดการกับอารมณ์และการร่วมมือกัน ด้านที่ 7 8C Communication Information and Media Literacy ผู้บริหารสร้างกิจกรรมและการสอนที่เน้นการพัฒนาศีลธรรม สมาธิ และส่งเสริมความสามารถที่ดีในการสื่อสารและรับสาร ด้านที่ 8 8C Cross-cultural Understanding ผู้บริหารสร้างความเข้าใจและการเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่าง และการสอนการคิดอย่างมีเหตุผล ด้านที่ 9 8C Computing and ICT Literacy ผู้บริหารเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและศีลธรรม และส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และความสามารถในการแก้ปัญหา ผ่านโครงการและกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ด้านที่ 10 8C Career and Learning Skills ผู้บริหารส่งเสริมทักษะและการเรียนรู้เพื่อสร้างอาชีพในอนาคตให้กับผู้เรียน โดยเน้นการจัดประสบการณ์จริง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างระบบ เพื่อเตรียมพร้อมในการเรียนหรือทำงานในอนาคต ด้านที่ 11 8C Compassion ผู้บริหารสร้างแผนงานและโครงการที่เน้นพัฒนาด้านคุณธรรม ความกตัญญู และความซื่อสัตย์ให้แก่ผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา

Article Details

How to Cite
พุ่มเกิด อ. ., เถื่อนช้าง ว. ., & ทศไกร ท. . (2024). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ตามหลักไตรสิกขา . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 651–668. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275496
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน. แหล่งที่มา https://shorturl.asia/39DCP สืบค้นเมื่อ 12 ก.ย. 2566.

ชลณา ม่วงหวาน. (2566). รายงานผลการดำเนินงานส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา https://shorturl.asia/Ehlbj สืบค้นเมื่อ 4 มี.ค. 2566.

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. (2555). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาเชิงบูรณาการ. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรังกูร วรบำรุงกุล, เริงวิชญ์ นิลโคตร, พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์ และสมปอง มูลมณี. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของโรงเรียนในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร (นามโท). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พีรวัส อินทวี. (2561). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวิถีพุทธ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ เขต 1 และ 3. รมยสาร. 16.(ฉบับพิเศษ). 10-18.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2558). พุทธวิธีสอน ในการสอนโดยสร้างศัทราและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตรีรณสาร.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.