แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเครือข่ายตำบลนายาง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายตำบลนายาง 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 106 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายตำบลนายาง จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวม โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเครือข่ายตำบลนายาง ประกอบด้วย (1) การบริหารสถานศึกษา จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคลากรเพื่อสร้างค่านิยมเห็นคุณค่าความพอพียง (2) หลักสูตรการสอน จัดการบูรณาการในหลักสูตรการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระและเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบของความพอเพียง (3) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างภูมิคุ้มแก่นักเรียนกันที่ภายใต้เงื่อนไขความรู้ (4) พัฒนาบุคลากร จัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออบรมพัฒนาให้ความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาด้านคุณธรรมคือความซื่อสัตย์สุจริตและดำเนินชีวิตอย่างใช้สติสัมปชัญญะ และ 3) แนวทางปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ (1) ความพอประมาณความพอดี ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาต้องนำไปปฏิบัติและพัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร (2) ความมีเหตุผล การตัดสินใจของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับระดับความพอเพียงต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลพิจารณาจากเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (3) ภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในการบริหารอย่างมีความรอบคอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นยุคการเปลี่ยนของยุคยีดิจิทัล (4) เงื่อนไขความรู้ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาต้องเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้มีความคิดริเริ่มพัฒนาตนเองเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน (5) เงื่อนไขคุณธรรม ผู้บริหารให้แนวทางปฏิบัติตนแก่บุคลากรนำไปปฏิบัติตนเพื่อละสิ่งชั่วและพัฒนาจิตใจให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อ ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา ปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กุศาวดี บุญนำ. (2565). แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เกษม วัฒนชัย. (2566). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. แหล่งที่มา http:// www.rdpb.go.th/th/Sufficiency สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย. 2566.
เทวิล ศรีสองเมือง. (2551). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
พระมหาไชยถนอม ชยธมฺโม (หาระสาย). (2559). การส่งเสริมศีลธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ โสภา. (2564). แนวทางการดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(10). 1-2.
สุรยุทธ์ จุลานนท์. (2566). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. แหล่งที่มา http:// www.rdpb.go.th/th/Sufficiency สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย 2566.
เสาวลักษณ์ มาพร. (2550). ความพร้อมในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อำพน กิตติอำพน. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.