แรงจูงใจในการปฏิบัติงานสู่องค์การยุคใหม่ของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

Main Article Content

สุเทพ อินทร์ศิริ
ณัฐวัชร จันทโรธรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสู่องค์การยุคใหม่ของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันที่จะส่งผลต่อแรงจูงใจในการการปฏิบัติงานสู่องค์การยุคใหม่ของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยมีกลุ่มการวิจัย คือ พนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 137 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ปัจจัยจูงใจที่อยู่ในระดับมากที่สุด มี 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และระดับมาก มี 4 ด้าน ได้แก่ การยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ส่วนปัจจัยค้ำจุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการปกครองและบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติงาน และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มี เพศต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ พนักงานที่มี อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง อายุงาน รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
อินทร์ศิริ ส. ., & จันทโรธรณ์ ณ. . (2024). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานสู่องค์การยุคใหม่ของพนักงานฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 175–186. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275462
บท
บทความวิจัย

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2553). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเวย์ จํากัด. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน สำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุธิดา เข็มทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยารามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper and Row.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.