แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 277 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านผลกระทบ/ผลย้อนกลับ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า ด้านศีล ผู้บริหาร ครู นักเรียน ต้องมีวิถีชีวิตสอดคล้องกับหลักพุทธธรรม ถือศีล 5 และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านสมาธิ เป็นการพัฒนาการควบคุมจิตใจ การฝึกให้จิตใจเป็นอยู่ที่สมดุล ด้านปัญญา เป็นความเข้าใจและการใช้ประสบการณ์ในการตัดสินใจและการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันอย่างมีสติ (2) กระบวนการ ด้านศีล ผู้บริหาร ครู นักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงบูรณาการสอดแทรกหลักธรรมในการเรียนต่อยอดการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านสมาธิ ผู้บริหาร ครู นักเรียน สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นอยู่อย่างรอบคอบ คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ด้านปัญญา ส่งเสริมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม และเห็นคุณค่าในการรักษาและสืบต่อพระพุทธศาสนา (2) ผลผลิต ด้านศีล ผู้บริหาร ครู นักเรียน ควรมีวินัย มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ต้องมีความกตัญญูรู้คุณ ด้านสมาธิ ผู้บริหาร ครู นักเรียน บริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ในปริมาณและคุณภาพที่มีความเหมาะสม ดำรงชีวิตอย่างเกื้อกูลเอื้อกับสิ่งแวดล้อม ด้านปัญญา มีศรัทธาและความเข้าใจที่ถูกต้องในพระรัตนตรัย ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาแสวงหาความจริงและใฝ่สร้างสรรค์ (3) ผลกระทบ/ผลย้อนกลับ ด้านศีล มีความสัมพันธ์ตามกรอบบวร ด้านสมาธิ วิเคราะห์และประเมินผลของกิจกรรมที่ดีและยั่งยืนต่อโรงเรียนและชุมชน ด้านปัญญา ทำแผนการดำเนินงานสำรองและการเตรียมความพร้อม และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย (1) ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีกัลยาณมิตร ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อครูนักเรียนและชุมชน ศรัทธาในพระพุทธศาสนาดำเนินชีวิตโดยใช้หลักพุทธธรรม ด้านการบริหารมีการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจที่ชัดเจน มีการนิเทศติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและจัดบรรยากาศภายในโรงเรียนให้ร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลจากอบายมุข (2) ด้านกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับหลักธรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเก่งดีมีสุข ดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานตามหลักไตรสิกขา (3) ด้านผลผลิต มีการพัฒนาศีล จิต และปัญญาให้เกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม รู้จักตนเองในการใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความถูกต้องใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีความกตัญญูรู้คุณ มีจิตใจงดงาม ศรัทธาในพระพุทธศาสนา (4) ด้านผลกระทบ/ผลย้อนกลับ ดำเนินการตามกรอบ บ้าน วัด โรงเรียน รักษาศีล ส่งเสริมศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา มีการทำงานที่เป็นขั้นตอน เป็นระบบ วิเคราะห์ประเมินผล จัดการบูรณาการตามหลักไตรสิกขา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรรฐภัฏ ศรีมา. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). แนวทางการดําเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์
ชัยยนต์ เพาพาน. (2566). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา http://conference.edu.ksu.ac.th/ สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย. 2566.
พระครูพิมลธรรมภาณ (มาณพ กนฺตสีโล). (2565). แนวทางการพัฒนาการบริหารการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาลำพึง ธีรปญฺญ (เพ็ญภู). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอานุสรณ์ อนุสฺสโร (พันธ์ประเสริฐ). (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาคณะสงฆ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา แขวงหลวงพระบาง สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก. (2566). ผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นมืออาชีพ. แหล่งที่มา http://www.plvc.ac.th/home/index.php?module=index&id=34&visited สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย 2566.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.