แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ตามหลักภาวนา 4

Main Article Content

กิตติภณ แก้วเหลี่ยม
พระธรรมวชิรธีรคุณ
สุวัฒน์ แจ้งจิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักภาวนา 4 เป็นวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 302 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ด้านทักษะทางสังคม ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง ด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย (1) ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง สร้างเข้าใจและรับฟังความรู้สึกของผู้อื่น ควรควบคุมอารมณ์และการแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ ควรให้ข้อคิดเห็นและคำชมเชยครูในการแสดงออกถึงความคิดเห็น (2) ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเอง สร้างความเข้าใจในเรื่องที่กำลังเปลี่ยนแปลงทั้งด้านบวกและด้านลบ สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและสนับสนุนให้ครูแสวงหาความรู้และปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (3) ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง พัฒนาตนเองทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ สนับสนุนทักษะการสื่อสารในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกฝนทักษะใหม่เพื่อเรียนรู้ (4) ด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น สร้างความเข้าใจมุมมองของผู้อื่น ลดความขัดแย้งและหาทางออกร่วมกัน เรียนรู้วิธีจัดการจัดการอารมณ์ของผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น (5) ด้านทักษะทางสังคม สร้างสื่อสารได้เข้าใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เปิดโอกาสกว้างเพื่อเชิญชวนพูดคุยอย่างเปิดเผยอย่างเป็นกันเอง

Article Details

How to Cite
แก้วเหลี่ยม ก., พระธรรมวชิรธีรคุณ, & แจ้งจิต ส. . (2024). แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ตามหลักภาวนา 4 . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 382–396. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275428
บท
บทความวิจัย

References

ทอดศักดิ์ เดชคง. (2545). ความฉลาดทางอารมณ์จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

จิตติมา สุนทรรส. (2564). รูปแบบการใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(10). 2-3.

จิล แดนน์. (2549). EQ ดีใน 7 วัน. แปลโดย ธนะ เอี่ยมอนันต์. กรุงเทพมหานคร: บิสคิต.

ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาคณิตศาสตร์ คเวสโก (มั่นในบุญธรรม). (2560). กระบวนการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาด้วยการปฏิบัติตามแนวสติปัฎฐาน 4. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตติยา จันทร์สว่าง. (2566). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 3(2). 105-116.

อุไรวรรณ ชูมี. (2561). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

Daniel Goleman. (1998). Working with Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.