แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐานการทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย ด้านการกำกับ ติดตาม การดำเนินการทำวิจัย ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าและการให้ความยอมรับนับถือครู ตามลำดับ รายด้านมีความคิดเห้นอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัย 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์วิชาชีพ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนสถานภาพตำแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีสถานภาพตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 มีแนวทางดังนี้ (1) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย สนับสนุนให้ครูผลิตสื่อและนวัตกรรม วางแผนโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ จัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและท้องถิ่น (2) ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าและการให้ความยอมรับนับถือครู ส่งเสริมครูที่มีผลงานวิจัย นำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สร้างครูต้นแบบที่มีความรู้ด้านการวิจัยเป็นพี่เลี้ยงครูคน (3) ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัย ส่งเสริมให้ครูพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน และผู้บริหารสถานศึกษาเองต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ สามารถถ่ายทอดให้ครูได้อย่างถูกต้อง ไม่แนะนำครูให้กระทำผิดจริยธรรมการวิจัย (4) ด้านการกำกับ ติดตาม การดำเนินการทำวิจัย สร้างความตระหนักให้ครูทราบว่าการวิจัยถือเป็นบทบาทหน้าที่ของครู และควรมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดประชุมชี้แจงการวางแผนการดำเนินการวิจัยและประเมินผลการวิจัย กำหนดเกณฑ์ในการประเมิน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการประเมินผลการวิจัย เพื่อที่ครูแต่ละคนจะได้ทราบถึงปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาผลงานวิจัยร่วมกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กนกพร จีระมะกร. (2566). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/OHqQ0 . สืบค้นเมื่อ 12 เม.ย. 2566.
เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(2). 220-235.
ขนิษฐา สะโดอยู่. (2563). แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จงกล ปทุมานนท์. (2561). การศึกษาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เจนจิรา ยะตั๋น. (2562). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนโป่งกลางน้ำประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เฉลิมเกียรติ สุ่มเงิน. (2562). การศึกษาคุณลักษณะและแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นารีรัตน์ กว้างขวาง. (2561). การบริหารงานโรงเรียนโดยใช้หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปัญญา คณะเมธ. (2560). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระสมุห์ยุทธนา อนุทโย (กรใหม่). (2561).แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะกัลยาณมิตร สำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2564). ชุดปฏิบัติการเหนือตำรา การวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย: ทำได้ภายในชาตินี้. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนัสนันท์ สิทธิศักดิ์. (2565). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(8). 156.
ยะดา ก่อวุฒิกุลรังสี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารตามหลักกัลยาณมิตรธรรม โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพา ช่างกล. (2560). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
รตินันท์ พรหมเจริญ และอรวรรณ ชมชัยยา. (2557). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของครูกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 10(1). 103.
สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ.(2566). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. แหล่งที่มา https://shorturl.asia/q0mW2 สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2566.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. แหล่งที่มา https://shorturl.asia/3kKse สืบค้นเมื่อ 12 เม.ย. 2566.
สุวิมล สิทธิมงคล. (2561). บทบาทการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อังคารพิสุทธ์ สยามประโคน. (2559). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อินถา ศิริวรรณ. (2559). ความเป็นครูวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.