พฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พิมพ์นิภา ศรีสังข์งาม
ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
สายหยุด มีฤกษ์
พระวินัย เขมจาโร (ศิริยาน)
พระสิทธิสิงหเสนี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ของนิสิตชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ 3) เพื่อเสนอแนะพฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 168 รูป/คน โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จำนวน 3 รูป/คน และนิสิตคณะครุศาสตร์ จำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเเละการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์เเละนิสิต และมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ จากการสัมภาษณ์อาจารย์เเละนิสิตจำนวน 8 รูป/คน คือ นิสิตนำหลักอิทธิบาท 4 มาปรับใช้กับการเรียนออนไลน์ หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย “ฉันทะ” ความพอใจ การนำมาปรับใช้ให้เข้ากับการเรียนออนไลน์ นิสิตต้องมีความพร้อมในการเรียนออนไลน์ มีความพอใจที่จะเรียน เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ “วิริยะ” ความเพียร การเรียนออนไลน์ เป็นการเรียนอยู่หน้าจอเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้นิสิต เกิดความเมื่อยล้า เบื่อหน่ายในการเรียน จึงต้องอาศัยความเพียรเป็นอย่างมาก เพื่อให้การเรียนออนไลน์ประสบความสำเร็จ “จิตตะ” ความมีจิตใจจดจ่อ มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ ช่วยให้นิสิต มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ เเละมีจิตใจจดจ่อกับการเรียนออนไลน์ “วิมังสา” การหมั่นตรวจสอบ นำวิมังสามาปรับใช้กับการเรียนออนไลน์ การทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้ว การตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ว่ามีข้อบกพร่องด้านใดเเละปรับปรุงเเก้ไข 2) ระดับพฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ ของนิสิตชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้านผู้เรียน จำนวน 168 รูป/คน พบว่า ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก สำหรับผลพิจารณาเเต่ละชั้นปี เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก นิสิตคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก นิสิตคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 4 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก เเละนิสิตคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 3 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และ 3) ข้อเสนอเเนะพฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ ของนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (1) 3 พอใจ คือ นิสิตมีความพร้อมในการเรียน มีการเปิดกล้อง เปิดไมค์ มีการพูดคุย ถามตอบอาจารย์ เกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ อาจารย์มีความพร้อมในการสอน มีการเตรียมตัว การเตรียมเนื้อหา เเละมีการใช้สื่อการสอนที่สามารถช่วยให้นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหามากขึ้น (2) 2 เพียร คือ นิสิตมีความเพียรในการเข้าเรียนออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เข้าเรียนตรงต่อเวลาในตารางเรียน อาจารย์มีการทบทวนเนื้อหาเพื่อสร้างสรรค์สื่อการสอนที่มีความถูกต้อง ตรงกับเนื้อหาที่สอน (3) 2 มุ่งมั่น คือ นิสิตมีความุ่งมั่น จิตใจจดจ่อในการเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์มีการทำกิจกรรมร่วมกันร่วมกันในชั้นเรียนออนไลน์เเละมีการสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนมาเเล้วท้ายชั่วโมงการเรียนออนไลน์เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนอย่างลึกซึ้ง (4) 3 ตรวจสอบ คือ ผู้เรียนเเละผู้สอนมีการตรวจสอบพร้อมทางด้านร่างกายเเละจิตใจ ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนออนไลน์ เเละสื่อ/เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนออนไลน์

Article Details

How to Cite
ศรีสังข์งาม พ. ., พิทักษ์ธนาคม ช. ., มีฤกษ์ ส. ., เขมจาโร (ศิริยาน) พ. . ., & พระสิทธิสิงหเสนี. (2024). พฤติกรรมการเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 257–267. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/275416
บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2549). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 46. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภสวัสดิ์ จิระประดิษฐ์ผล. (2564). ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ตอน 14. 17 และ 19 ที่มีผลต่อกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด 19. รายงานวิจัย. นครนายก: โรงเรียนเตรียมทหาร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทะเบียนและวัดผล. (2565). สถิตินิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปี 2565. แหล่งที่มา https://reg.mcu.ac.th/?page_id=97 สืบค้นเมื่อ 2 ก.พ. 2566.

สุภัสสรา วันทมาตย์ และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2566). SUPAT Model: รูปแบบการเรียนรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมผู้เรียนร่วมกับหลักอิทธิบาท 4 ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(2). 519-528.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.