การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทย

Main Article Content

พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
ทองดี ศรีตระการ
เอกลักษณ์ เทพวิจิตร
ประวิทย์ ชัยสุข
อรุณรัตน์ วิไลรัตนกุล
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธ 2) พัฒนาการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธ และ 3) ส่งเสริมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งการดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต ผู้มีส่วนในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทย รวม 400 รูป/คน และกลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 13 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อย และชุดกิจกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธ เป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบ ประเด็นเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัย เป็นการสื่อสารด้วยสติปัญญา และพิจารณาไตร่ตรองในขณะที่มีสื่อสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ตนเอง และผู้รับสื่อมีความสุข เว้นจากลักษณะมุสาวาท เน้นการสื่อสารในรูปแบบเชิงพุทธตามแนวไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ และปัญญา 2) พัฒนาการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธ มีเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมและการเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและชุมชน ขับเคลื่อนพื้นที่มีความประพฤติดี ปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรม โยนิโสมนสิการ ปรโตโฆสะ และยึดหลักกาลามสูตร เอื้อต่อการสื่อสารและมีความทันสมัย และ 3) การส่งเสริมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทย คือ (1) พื้นที่เรียนรู้สื่อตามหลักไตรสิกขา (2) รู้ทันสื่ออย่างผู้มีปัญญา (3) ปฏิสัมภิทา หลักสำคัญสำหรับยุคข่าวสารข้อมูล (4) วุฒิธรรม 4 ความเจริญงอกงามแห่งปัญญา และสามารถนำไปในวิถีชีวิตประจำได้

Article Details

How to Cite
ฐิตวฑฺฒโน พ. ., ศรีตระการ ท., เทพวิจิตร เ. ., ชัยสุข ป. ., วิไลรัตนกุล อ. ., & ภูริปญฺโญ พ. . (2024). การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทย . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 1–14. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/272074
บท
บทความวิจัย

References

กิติมา สุรสนธิ. (2554). การรู้เท่าทันสื่อกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2556). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9(3). 209-219.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัสลับความคิดเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

ภูริพัฒน์ ถนอมศรีอุทัย. (2565). ความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับการพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2). 293-304.

วสุพล ตรีโสภากุล. (2558). การศึกษากระบวนการและปัจจัยเชิงสาเหตุความยึดมั่นผูกพันบนเฟซบุ๊คแฟนเพจในกลุ่มผู้บริโภคไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สายน้ำผึ้ง รัตนงาม. (2561). พุทธวิธีการรู้เท่าทันสื่อใหม่สำหรับเยาวชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(2). 460-473.

Buckingham, D., Banaji, S., Burn, Andrew, Carr, Diane, Cranmer, Sue, and Willett, Rebekah. (2005). The Media Literacy of Children and Young People: A review of the research literature on behalf of Ofcom. From http://stakeholders.ofcom.org.uk/ binaries/research/media-literacy/ml_ children .pdf Retrieved May 2, 2015.

Hobbs, R., & Froast, R. (1999). Instructional Practices in Media Literacy Education and Their Impact on Students’ learning. New Jersey Journal of Communication. 6(2). 123-148.

Livingstone, S. (2004). What is Media Literacy. From https://www.lmz-bw.de/fileadmin/user_upload/Medienbildung_MCO/fileadmin/bibliothek/livingstone_medialiteracy/ livingstone_medialiteracy.pdf Retrieved May 2, 2015.

SIMON KEMP. (2021). DIGITAL 2021: THAILAND. From https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand Retrieved October 15, 2021.