การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1

Main Article Content

สุมนัส กองฤกษ์
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยรั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบ One-Group Pretest-posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 2) แบบฝึกทักษะ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้วิจัยได้ดำเนินการใช้การสุ่มแบบกลุ่ม ซึ่งได้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโบสถ์อนุกูลสังฆกิจ รวม 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ คิดเป็นร้อยละ 22.73 สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยโดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยโดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ซึ่งในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
กองฤกษ์ ส., & เตชะวัฒนศิริดำรง ว. . (2024). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 76–88. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/270874
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ทรงพล ริระสาย. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น . พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1) .242-249.

พิชามนญ์ ผิวอ่อนดี. (2565). ผลของการใช้เทคนิค Storyline และนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภริดา สุขีลักษณ์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการท างานร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภิญญาภัสส์ ทิพย์โยธา. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สามารถ ผ่องศรี. (2563). รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2565). รายงานการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2565. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2679. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อภิรักษ์ บุญนะ. (2565). การพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ ร่วมกับเทคนิคการสร้างสรรค์งานเขียนแบบสตอรีไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อริย์ธัช ฉ่ำมณี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์โดยประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม.

อัญชนา พรหมเพ็ญ. (2566). การพัฒนาทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 4 หน่วยการเรียนรู้เรื่องการนำเสนอข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อิสรีย์ น้อยมิ่ง. ( 2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.