แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการของบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 วิธีการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 302 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น และขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 1 คนผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน และ อาจารย์ประจำสาขาการบริหารการศึกษา จำนวน 1 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ บทบาทด้านการนำ บทบาทด้านการส่งเสริม และบทบาทด้านการอำนวยความสะดวก 2) แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 พิจารณาตามค่าความต้องการจำเป็น ดังนี้ ด้านการนำ ผู้บริหารควรจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา จัดทำรายงาน SAR เสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา มีการเผยแพร่และนำผลการพัฒนาไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ด้านการส่งเสริม ผู้บริหารควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในเรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับบุคลากรในโรงเรียน ค้นคว้า พัฒนาตนเองให้มีความรู้ และเตรียมความพร้อมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และด้านการอำนวยความสะดวก ผู้บริหารควรสนับสนุนอำนวยความสะดวก รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
นิมิตร อิสระกุล. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รจนา มากชุมแสง. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอปะคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วาสนา บูระพา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมปอง จันทคง. (2554). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่ครูต้องการ. แหล่งที่มา http://www.kroobannok.com/blog/34520. ค้นเมื่อ 29 ธ.ค. 2554.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2557). มหกรรมการศึกษาอยุธยาสู่อาเซียน. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.
อุทัยวรรณ นรินรัตน์. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.
Krejcie, R. V. & Morgan. D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.