แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan จำนวน 226 คน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 40 คนและครู 186 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.978 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็ก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็กในภาพรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ การประสานงาน การวางแผน และการจัดองค์กร 2) แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขนาดเล็ก นำเสนอแนวทางตามลำดับของลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) การประสานงาน ประกอบด้วยการประสานงานภายในสถานศึกษา การประสานงานหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน และการประสานงานกับกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาขนาดเล็ก (2) การวางแผน ประกอบด้วยการศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา สอบถามความสนใจของนักเรียนและผู้ปกครอง และจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) การจัดองค์กร ประกอบด้วยการกำหนดหลักสูตรของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดบุคลากรแต่ละกิจกรรมในสถานศึกษาและการจัดทำคำสั่งมอบหมายการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คมสัน พรมเสน. (2562). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนวัดท่าพูด (นครผลประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มรกต ใจดี. (2560). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.
วัฒนา อุปพงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการ ส่งเสริมพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก. แหล่งที่มา https://www.parliament.go.th สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2566.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). แหล่งที่มา https://www.trueplookpanya.com สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Allen, Louis A. (1958). Organization and Management. New York: McGraw-Hill.
American Association of School Administrators. (1955).Staff Relations in School Administration. 3rd ed. Arlington. Wa: The Association.
Henri Fayol. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.
Krejcie, R. V. & Morgan. D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.