การพัฒนา Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ณัฐนันท์ ภัทรวินเดโชพัฒน์
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนา Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี หลังได้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Mobile Micro-learning ด้วย TikTok ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี หลังได้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Mobile Micro-learning ด้วย TikTok กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา จํานวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 29 คน เป็นการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน 2) สื่อมัลติมีเดียผ่าน TikTok โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Mobile Micro-learning เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3) แบบวัดความรู้การรู้เท่าทันสื่อ ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สื่อมัลติมีเดียผ่าน TikTok โดยจัดการเรียนรู้รูปแบบ Mobile Micro-learning เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพสื่อ Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) คะแนนสอบหลังเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ พบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก.

Article Details

How to Cite
ภัทรวินเดโชพัฒน์ ณ. ., & ศิริพิพัฒนกุล ส. . (2024). การพัฒนา Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 187–198. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/270284
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2562). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. รายงานวิจัย. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

นิษฐา หรุ่นเกษม และคณะ. (2566). การศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 13(1). 1-14.

สุไม บิลไบ. (2557). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย โดยใช้ ADDIE Model. แหล่งที่มา https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2014/12/addie_design_sumai.pdf สืบค้นเมื่อ 12 ธ.ค. 2562.

Mayer R. E. (2001). Multimedia Learning. Cambridge University Press.

Koole M. and Ally M. (2006). Framework for the Rational Analysis of Mobile Education (FRAME) Model: Revising the ABCs of Educational Practices. From https://ieeexplore.ieee.org Retrieved November 8, 2023.

Purmadi, A., Muzakkir, M. & Astuti, E. R. P. (2022). Developing M-Learning Applications to Support Digital Literacy of Vocational High School Students. Jurnal Inovasi dan Teknologi Pembelajaran (JINOTEP): Kajian dan Riset dalam Teknologi Pembelajaran. 9(3). 291-301.

Pandey A. (2018). 12 Examples That Prove Mobile Learning and Microlearning is an Essential Combination to Meet Your Learning Mandate. EI Design.