การศึกษาความคล่องตัวในการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ในภาคกลางตอนบน

Main Article Content

พาขวัญ มั่งมูล
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคล่องตัวในการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคกลางตอนบน โดยใช้กรอบแนวคิดความคล่องตัวในการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคกลางตอนบน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครู 234 คน จากครู 597 คนของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคกลางตอนบน ทั้งหมด 7 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับความคล่องตัวในการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคกลางตอนบน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคล่องตัวในการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคกลางตอนบน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านของระดับความคล่องตัวในการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคกลางตอนบน พบว่า การตระหนักรู้ตนเอง มีระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความคล่องตัวด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ความคล่องตัวด้านผลลัพธ์ ความคล่องตัวด้านความคิด ตามลำดับ และความคล่องตัวด้านการเปลี่ยนแปลง มีระดับน้อยที่สุด

Article Details

How to Cite
มั่งมูล พ. ., & แช่มช้อย ส. . (2024). การศึกษาความคล่องตัวในการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ในภาคกลางตอนบน . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 137–150. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/270226
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์ชลี มาพุทธ. (2561). สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 29(1). 1-13.

ธัญพิมล วสยางกูร และจารุวรรณ พลอยดวงรัตน์. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนแปลงพลิกผันด้วยการสร้างองค์กรแห่งความคล่องตัว. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 4(4). 15-28.

นาถยา คงขาว. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัญพัชร์ ปภังกร. (2563). ปรับตัวให้ไวขึ้น ในโลก Disruption ด้วย Agility. แหล่งที่มาhttps://sasinconsulting.com/wp-content/uploads/2020/09/Disruption_Agility.pdf สืบค้นเมื่อ 19 ม.ค. 2567.

รัตน์ดา เลิศวิชัย. (2562). Learning Agility ความสามารถที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ของผู้นําทางการศึกษา. แหล่งที่มา https://www.dpu.ac.th/ces/upload/content/files/ED-APHEIT%202019(1).pdf สืบค้นเมื่อ 19 ม.ค. 2567.

วีระยุทธ แสงไชย. (2564). ภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศุภฤกษ์ วัฒนศรี. (2565). แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตระยอง 1 ตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). สพฐ. ดัน รร.อนุบาลประจำจังหวัด เป็นแกนนำพัฒนาเด็กปฐมวัย พื้นฐานสำคัญการพัฒนาตลอดช่วงวัย. แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/archives/668716 สืบค้นเมื่อ 23 ก.พ. 2567.

Ackerman, C. E. (2019). My pocket gratitude: Anytime exercises for awareness, appreciation, and joy. Adams Media.

De Meuse, K. P. & Feng, S. (2015). The development and validation of the TALENTx7 Assessment: A psychological measure of learning agility. Shanghai, China: Leader’s Gene Consulting.

De Meuse, K. P., Dai, G., Zewdie, S., Page, R. C., Clark, L. P. & Eichinger, R. W. (2011). Development and validation of a self-assessment of learning agility. Chicago, Illinois: Paper presented at the Society for Industrial and Organizational Psychology Conference.

Hopkins, D. & Stern, D. (1996). Quality teachers, quality schools: International perspectives and policy implications. Teaching and teacher education. 12(5). 501-517.

Kaya, A. (2023). Teachers' learning agility as a predictor of their lifelong learning tendency. Asian Journal of Instruction. 11(Special Issue). 61-76.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.

Krishnan, K. (2019). 3 vital skills for the age of disruption. From https:// www.weforum.org/agenda/2019/09/3-vital-skills-for-the-age-of-disruption Retrieved January 19, 2024.

Santoso, A. M. & Yuzarion, Y. (2021). Analysis of learning agility in the performance of achievement teachers in Yogyakarta. PEDAGOGIK: Jurnal Pendidikan. 8(1). 77-122.

Silzer, R. & Church, A. H. (2009). The pearls and perils of identifying potential. Industrial and Organizational Psychology: Perspectives on Science and Practice. 2(4). 377–412.

Swisher, V. (2013). Learning agility: The “X” factor in identifying and developing future leaders. Industrial and Commercial Training. 45(3). 139-142.

Toffler, A. (1970). Future Shock. From https://ia801209.us.archive.org/6/items/FutureShock-Toffler/Future-Shock_-_Toffler.pdf Retrieved January 19, 2024.

Wahjusaputri, S. & Fadilah, H. (2022). The Impact of Learning Agility and the Work Environment during Work from Home (WFH) on Teacher Performance. Al-Ishlah: Jurnal Pendidikan. 14(4). 6695-6702.

York-Barr, J. & Duke, K. (2004). What Do We Know About Teacher Leadership? Findings From Two Decades of Scholarship. Review of Educational Research. 74(3). 255-316.