ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อาทิตภรณ์ เสนสาร
วัสสิกา รุมาคม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน 144 คน ในปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลและใช้สถิติเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่กรุงเทพมหานครมีสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในทางเดียวกันการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่กรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กับการบริหารวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก

Article Details

How to Cite
เสนสาร อ. ., & รุมาคม ว. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 567–575. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/269871
บท
บทความวิจัย

References

กัญญาภิญญ์ สีรัตน์เจริญ และสุนันท์ ช่วยชู. (2566). แนวทางการพัฒนาการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี. 6(1). 32-49.

ขวัญชนก แซ่โค้ว. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จีรพรณัฎฐ์ ภุมรินทร์ และสายสุดา เตียเจริญ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11(1). 215-216

ปรียานุช ธะนะฉัน, นิพนธ์ วรรณเวช และสาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 5(1). 1-12.

พิชญ์สินี โภชนุกูล. (2564). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครูในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (0BECQA) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 15(3). 109-130.

สร้อยสุดา ศุภมาตย์ และทับทิมทอง กอบัวแก้ว. (2566). การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/4305 สืบค้นเมื่อ 5 ม.ค. 2567.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.