แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพ ระดับการศึกษา และ ประสบการณ์ทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูเอกชน จำนวน 201 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านลักษณะงาน ตามลำดับอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านโอกาสในการเจริญเติบโต และด้านความก้าวหน้า ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ครูเอกชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน ส่วน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน ได้แก่ การสนับสนุนให้ครูศึกษาต่อ การส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีม การส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพครู การกำหนดขอบข่ายงานให้ชัดเจน ฝึกเป็นผู้นำ และการมอบขวัญและกำลังใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กนิษฐา เงินสันเทียะ. (2560). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สำนักงานเขตสายไหม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กอบกุล ต๊ะปะแสง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กุลิสรา กอปรเมธากุล. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 7(2). 76-95.
ณัชชา ใจตรง. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่มีอายุต่างกัน กรณีศึกษาพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณิชพร คำเถียร. (2559). แรงจูงใจกับการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นฤมล ศาลาคาม. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสำนักงานเขตห้วยขวาง สังกัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(3). 42-55.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญลดา คุณาเวชกิจ และคณะ. (2564). หลักการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 3 (1). 110-119.
เปรมปภัสร์ เพชรจรัสศรี. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอรรถวิทย์.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 10(1). 114-123.
พรพิมล ฤทธิ์เลิศช. (2565). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน. วารสารนวัตกรรมบริหารการศึกษา. 1(2). 2
พระพงษ์ศักดิ์ สนตมโน(เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554. (2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 7 ก. หน้า 29. (11 ม.ค. 2551).
พันธีตรา สามารถ. (2562). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม). รายงานวิจัย. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม).
พิเชษฐ์ ซิ้มเจริญ. (2564). แรงจูงใจและความจงรักภักดีที่ส่งผลต่อพนักงานในองค์กรขนาดเล็ก กรณีศึกษา: บริษัท จงฟู่ (กรุงเทพ) จำกัด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.
Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30. 607-610
Likert, R. (1970). New Patterns of Management. New York: McGraw - Hill.
Maslow. (1954). Motivation (psychology); self-actualization (psychology). New York: Harper.