การพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต: กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาในจังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาในจังหวัดพัทลุงผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจำนวนทั้งหมด 10 คน โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน 2 คน ครูผู้สอน 4 คน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ 2 คน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป 2 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้หลักของการสร้างสัมพันธ์ที่ดี (Rapport) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการตรวจสอบระหว่างคณะผู้วิจัย (Peer debriefing) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาในจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) ด้านความเชื่อในศักยภาพทางปัญญา ผู้บริหารมีการสร้างภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน กำหนดวิสัยทัศน์ และสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีสำหรับบริหารสถานศึกษา 2) ด้านเปิดรับความท้าทายใหม่ๆ ผู้บริหารมีความกระตือรือร้น มองความท้าทายเป็นโอกาส มีความกล้าเผชิญความท้าทาย มีการสร้างเครือข่ายและการเปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3) ด้านหาแบบอย่างและแรงบันดาลใจ ผู้บริหารค้นหาต้นแบบที่ดีมาเป็นแบบอย่างเพื่อสร้างผลงานและรางวัล 4) ด้านยอมรับฟังความคิดเห็นและการวิพากษ์จากบุคลากร ผู้บริหารเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกคนและเรียนรู้จากคำติชม 5) ด้านไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ผู้บริหารมองปัญหาให้เป็นโอกาส เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและกล้าเผชิญปัญหา และ 6) ด้านมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ ผู้บริหารเปิดใจกว้างและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กุสุมา ยกชู. (2561). การศึกษาและเสริมสร้างกรอบคิดงอกงามของนักศึกษาวิชาชีพครู. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เถลิงศักดิ์ อาจธรรม, สุดารัตน์ สารสว่าง และสุชาดา นันทะไชย. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปกับกรอบความคิดแบบเติบโตของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 42(6). 62-73.
พิมพ์ตะวัน จันทัน. (2563). การศึกษา GROWTH MINDSET จากการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 9(1). 98-105.
ยงยุทธ ขำคง และสรวงภรณ์ สัจภาพพิชิต. (2564). GROWTH MINDSET: เปลี่ยนวิธีคิดในปัจจุบันเพื่อความสำเร็จในอนาคต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 12(2). 369-387.
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2553). การศึกษาแบบกรณีศึกษา: Case Study. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 33(4). 42-49.
ละอองดาว ชาวกงจักร์ และธีนะดา ภิญโญ. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูโดยใช้กรอบความคิดเติบโตของข้าราชการครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 17(2). 151-159.
วิศรุต นุชพงษ์. (2561). ผืนดินและแผ่นฟ้าแห่งการงอกงาม: ผู้เรียนและบริบทของการมีกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส: กรณีศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาย เทพแสง. (2565). ผู้นำกับการคิดแบบพัฒนา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา. 1(2). 1-12.
อรพิน โคตวิทย์, วัลลภา อารีรัตน และเกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2563). ความต้องการจําเป็นในการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16(2). 141-153.
อรรถชัย ศรีวรภัทร. และสืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2563). แนวทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตามกรอบความคิดแบบเติบโต. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3(3). 40-63.
Beziat, T. L., Bynum, Y. & Klash, E. F. (2017). Metacognitive Awareness and Mindset in Current and Future Principals. School Leadership Review. 12(2). 23-31.
Blackwell, L. S., Trzesniewski, K. H. & Dweck, C. S. (2007). Implicit theories of intelligence predict achievement across an adolescent transition: A longitudinal study and an intervention. Child Development. 78(1). 246-263.
Drago-Severson, E., Blum-DeStefano, J. & Asghar, A. (2013). Learning for Leadership: Developmental Strategies for Building Capacity in Our Schools. London: Corwin.
Dweck, C. (2006). Mindset: The New Psychology of Success: How We Can Learn to Fulfill our Potential. New York, NY: Ballantine.
Dweck, C. (2012). Mindset and Malleable Minds: Implications for Giftedness and Talent. In R. Subotnik, A. Robinson, C. Callahan, & E. Gubbins (Eds.), Malleable Minds: Translating Insight from Psychology and Neuroscience to Gifted Education. Storrs, CT: National Research Center on the Gifted and Talented, University of Connecticut.
Education Week Research Center. (2016). Mindset in the Classroom A National Study of K-12 Teachers. From https://epe.brightspotcdn.com/0d/a4/49a22bcf4f899a36427c6d7859c6/ewrc-mindsetintheclassroom-sept2016.pdf Retrieved February 28, 2024.
Fraenkel, J. R. & Wallen, N. E. (2006). How to design and evaluate research in education. 6th ed. New York, NY: McGraw-Hill.
Grünbaum, A. (2007). The reception of my Freud-critique in the psychoanalytic literature. Psychoanalytic Psychology. 24(3). 545-576.
Guest, G., Bunce, A. & Johnson, L. (2006). How many interviews are enough? An experiment with data saturation and variability. Field methods. 18(1). 59-82.
Haimovitz, K. & Dweck, C. (2016). What predicts children's fixed and growth intelligence mind-sets? Not their parents' views of intelligence but their parents' views of failure. Psychological Science. 27(6). 859-869.
Hildrew, C. (2018). Becoming a Growth Mindset School. London: Routledge.
Jennings, C. & Cuevas, J. A. (2021). Teacher Impact on Student Growth Mindset. Perspectives In Learning. 19(1). 23-38.
Masalee, N., Ariratana, W. & Sirisooksilp, S. (2021). Developing Factors and Indicators of Growth Mindset for School Administrators in Thailand. International Educational Research. 4(1). 61-70.
Miller, S. (2022). Teacher Mindset Affects School Culture. (Master's degree), Education, Northwestern College, Iowa. From https://nwcommons.nwciowa.edu/education_masters/437/ Retrieved March 10, 2024.
Morse, J. M. (2000). Determining sample size. Qualitative health research. 10(1). 3-5.
Patton, M. Q. (2002). Qualitative research and evaluation methods. 3rd ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Paunesku, D., Walton, G. M., Romero, C., Smith, E. N., Yeager, D. S. & Dweck, C. S. (2015). Mind-set interventions are a scalable treatment for academic underachievement. Psychological Science. 26(6). 784-793.
Seidman, I. (1998). Interviewing as qualitative research: A guide for researchers in education and the social sciences. 2nd ed. New York: Teachers College Press.
Stake, R. E. (1988). Case Study Methods Education Research: Seeking Sweet Water. In R. M. Jaeger (Ed.), Complementary Method for Research in Education. Washington, D.C.: American Educational Research Association.
Yeager, D. S. & Dweck, C. (2012). Mindsets that promote resilience: When students believe that personal characteristics can be developed. Educational Psychologist. 47(4). 302-314.
Yin, R. K. (2014). Case study research: Design and methods. Thousand Oaks, CA: Sage.