คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

วีณา โคตรคำภา
จิติยาภรณ์ เชาวรากุล
สาลินี มีเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา 200 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบ[สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม การมีวิสัยทัศน์ บุคลิกภาพ การบริหารจัดการ ความเป็นผู้นำ และการมีมนุษยสัมพันธ์ ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีระดับการศึกษาและตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น การประยุกต์ทฤษฎีนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเหมาะสม การประพฤติตนแบบอย่างที่ดี การบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาการสื่อสาร

Article Details

How to Cite
โคตรคำภา ว., เชาวรากุล จ., & มีเจริญ ส. (2024). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 209–221. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/269641
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. แหล่งที่มา https://www.dla.go.th/upload/ ebook/column/2017/4/2199_5930.pdf สืบค้นเมื่อ 29 มิ.ย. 2566.

เกศริน สิงห์แดง. (2555). ผู้บริหารสถานศึกษา. แหล่งที่มา https://www. gotoknow.org/posts/349128 สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2566.

ทัศนาทิพย์ เสือวงษ์. (2563). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นงลักษณ์ งามขำ. (2564). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในโรงเรียนอำเภอลำลูกกาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(3). 141-154.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์. (2562). คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคไทย แลนด์ 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38(6). 44-54

พรทิพย์ สุขเอียด. (2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วสันต์ บัวชุม. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศรัญญา โนนคู่เขตโขง. (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 1(1). 113-123.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานการศึกษาสภาวการณ์การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุพรรณา เพ็ชรรักษา และสมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2558). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่. แหล่งที่มา https://supannapetraksa.blogspot.com สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2566.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียน : บทบาทและความท้าทายในยุคปฏิรูปการศึกษาไทยใน ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 -2561). แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607 - 610.

Likert, R. (1976). New Patterns of Management. New York: McGraw - Hill.

Magunson, W.C. (2006). Characteristics of Successful School Business Manager. Dissertation Abstracts International. 32(1). 133 - A.

Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1984). Qualitative data analysis: a sourcebook of new methods. In qualitative data analysis a sourcebook of new methods. Sage publications.