ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามแนวคิดความยืดหยุ่นทางจิตใจ

Main Article Content

วรีสรา จารย์ปัญญา
เพ็ญวรา ชูประวัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลำดับความต้องการจําเป็นของการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามแนวคิดความยืดหยุ่นทางจิตใจ ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจําเป็น (PNIModified) โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 108 คน ผลการวิจัยพบว่า ค่าดัชนีความต้องการจําเป็นของพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามแนวคิดความยืดหยุ่นทางจิตใจ โดยภาพรวม คือ 0.388 (PNIModified = 0.388) เมื่อพิจารณาตามขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียน พบว่า ด้านงานกิจกรรมนักเรียน หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีค่าความต้องการจําเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด และด้านงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าความต้องการจําเป็นในการพัฒนาต่ำที่สุด และเมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบความยืดหยุ่นทางจิตใจ โดยภาพรวม คือ 0.390 (PNIModified = 0.390) พบว่า การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการควบคุมตนเอง มีค่าความต้องการจําเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด และการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายในชีวิต มีค่าความต้องการจําเป็นในการพัฒนาต่ำที่สุด

Article Details

How to Cite
จารย์ปัญญา ว. ., & ชูประวัติ เ. . (2024). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามแนวคิดความยืดหยุ่นทางจิตใจ . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 111–120. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/269608
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2549). คู่มือบริหารจัดการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมอนามัย. (2565). รายงานการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ.2564 (Thailand Global School-based Student Health Survey 2021:GSHS). กรุงเทพมหานคร: มินนี่กรุ๊ป.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2564). ความยืดหยุ่นทางจิตใจ(Resilience): วัคซีนใจเพื่อการก้าวผ่านวิกฤตในปัจจุบัน. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 2(11). 1-9

เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2563). ภาวะผู้นำในการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันสวนกุหลาบ. (2565). รายงานผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพกุหลาบหลวง ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสวนกุหลาบ.

สวภพ เทพกสิกุล. (2559). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือวิทยากรระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชาทฤษฎีบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Hague, Netherlands: Bernard van leer foundation.