การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน

Main Article Content

ปิยนันท์ ชูรักษ์
เพ็ญพนอ พ่วงแพ
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตแบบอัตนัย เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตแบบปรนัย เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ชูรักษ์ ป. . ., พ่วงแพ เ., & น้ำสมบูรณ์ ม. (2024). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคต เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(3), 357–368. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/269445
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ตากูล. (2550). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : กรณีศึกษา โรงเรียนวชิราวุธวิทยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชมพูนุช จันทร์ตีน. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อนาคต เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชลาธิป สมาหิโต. (2555). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(1). 113-129

ฐิติพร พืชญกุล. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการแก้ปัญหาเชิงอนาคตของนักศึกษาสถาบันราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเวศ วะสี. (2564). โลกหลังโควิด. แหล่งที่มา https://www.nationalhealth.or.th/.../e_book/no103/index.html สืบค้นเมื่อ 13 ก.พ. 2567.

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท. 46(209). 40-45.

ศศิธร พงษ์โพคา. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). การจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ตามแนวทางของการ จัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2563). อนาคตศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ล็อคอินดีไซด์เวิร์ค.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(2). 348-365.

Casinader, N. R. (2012). Cultural Perspectives, Thinking, Educators and Globalisation: a critical analysis of the Future Problem Solving Program. The University of Melbourne.

Daehler, K. & Folsom, J. (2016). Making Sense of SCIENCE: Phenomena-Based Learning. From http://www.WestEd.org/mss. Retrieved Jun 22, 2021.

Future Problem Solving Program. (2001). Minutes of Meeting of Governing Council. Lexington Kentucky.

Silander, P. (2015). Phenomenon Based Learning. From http://www.phenomenoleducation.info/phenomenon-based-learning.html. Retrieved Jun 22, 2021.