การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชวัตรวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการฟังและพูดภาษาจีนโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้าน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและพูดให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการฟังและพูดภาษาจีนหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชวัตรวิทยา จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชิงปฏิสัมพันธ์ 2) แบบประเมินคุณภาพ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญแบ่งเป็น ด้านเนื้อหา มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.27/84.54 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ความสามารถในการฟังและพูดภาษาจีนของนักเรียนหลังจากเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับดี 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จริยา แก้วศรีนวม. (2557). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบซินเนคติคส์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาพร บุญกุศล. (2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการฟังการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานและบทบาทสมมติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ประภาพร นุชอำพันธ์. (2554). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง อาหารและสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โรงเรียนราชวัตรวิทยา. (2564). การวัดและประเมินผลความสามารถในการฟังและพูดภาษาจีน. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนราชวัตรวิทยา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อารีย์ พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ใยไหมเอดดูเค.
Jonathan, B. & Aaron, S. (2013). Flip your student’s learning. Educational Leadership. 70(6). 16-20.
Jonathan, B. & Aaron, S. (2012). Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. Intl Society for Technology in educ.
Ratsameeporm, W. (1999). Design and development of teaching. Bangkok: Srinakharinwirot University Press.
Torrance. (1963). Education and the Creative Potential. Minneapolis: The Lund Press.