การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรรณนภา โพธิ์ผลิ
อารีรัตน์ จันทร์บำรุง
สมิทธิ์ เจือจินดา
นิธิภัทร บาลศิริ
ณรงค์พล เอื้อไพจิตรกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนก่อนและหลังเรียนของผู้เรียน 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ จำนวน 37 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน E1/E2 การวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยการทดสอบ t-test และ ดัขนีประสิทธิผล (E.I) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้วย E1/E2 มีค่าเท่ากับ 81/82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเท่ากับ 0.6578 สามารถอธิบายได้ว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6578 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.78 4) ผลความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีระดับคะแนนความพึงพอเท่ากับ 4.84

Article Details

How to Cite
โพธิ์ผลิ ว. ., จันทร์บำรุง อ. ., เจือจินดา ส., บาลศิริ น., & เอื้อไพจิตรกุล ณ. (2023). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 10(2), 407–416. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/264665
บท
บทความวิจัย

References

นิเกต อุ่นทะเล. (2560). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บรรพต วงศ์ทองเจริญ. (2566). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ เรื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 7(1). 69-76.

พันธนันท์ สุวรรณสิงห์, สาวิตรี เถาว์โท และเกษศิริ ทองเฉลิม. (2566). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ข้อมูลข่าวสารและการใช้เทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 12(1). 46-57.

ฟะห์มี ปูลา, อับดุลรอแม สุหลง, มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮ เรื่องการถือศีลอดโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย. 3(2). 13-26.

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก, พงศ์วัชร ฟองกันทา และธวัช พุทธรักษ์. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารจันทรเกษมสาร. 26(1). 125-140.

ศิลป์ชัย พูนคล้าย. (2566). Computer Assisted Instruction. แหล่งที่มา https://eledu.ssru.ac.th/sinchai_po/mod/resource/view.php?id=51 สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2565.

สุทัศน์ กำมณี, พจนีย์ สุขชาวนา, อิซตีฮาร เจะมะ. (2566). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 17(2). 111 – 121.

Sual Mcleod. (2566). Likert Scale Questionnaire: Examples & Analysis. From https://www.simplypsychology.org/likert-scale.html Retrieved January 7, 2023.