การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค 5W1H 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค 5W1H กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าช้างวิทยาคาร จังหวัดสิงห์บุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับเทคนิค 5W1H จำนวน 5 แผน เวลา 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.23-0.73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.60 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับเทคนิค 5W1H สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค 5W1H สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค 5W1H โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรองทิพย์ สุราตะโก. (2559). ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิค 5W1H และผังกราฟฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 16(1). 51-59.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลยา เมาะราศี. (2556). ผลการเรียนที่ใช้วีการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับด้านบนเครือข่ายสังคม ในรายวิชาการวิเคราะห์และแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
โรงเรียนท่าช้างวิทยาคาร. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2563. สิงห์บุรี: โรงเรียนท่าช้างวิทยาคาร.
ลัลน์ลลิต เอี่ยมอำนวยสุข. (2556). การสร้างสื่อบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เรื่องการเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอลเบื้องต้นที่ใช้วีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2549). การสอนเพื่อพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: เทมการพิมพ์.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2549). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธการสอนคิดวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of Education Objectives. New York: David Mckay.
Joseph C. (2013). The Effectiveness of Using Online Instructional Videos with Group Problem-Solving to Flip the Calculus Classroom. California State University, Northridge.
Kachka, P. (2012). Educator’s Voice: What’s All This Talk about Flipping. From https://tippie.uiowa.edu/faculty-staff/allcollege/kachka.pdf Retrieved January 15, 2015.