แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระมหากัมพล อตฺถปาโล (ชำนาญ)
เกษม แสงนนท์
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย และ 3) เพื่อนำเสนอปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยการเก็บรวบข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 310 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสถิติทางคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ วินัยดี มีคุณธรรม บุคลิกภาพดี สอนดี และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2) ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้จำนวน 13 ตัวแปร ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 มีจำนวน 78 คู่ มีค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง -0.026 ถึง 0.905 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ตัวแปรส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ทางบวก แสดงว่า ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ 3) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย พบว่า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2 = 72.47, df = 56, p = .068, GFI = .965, AGFI = .943, RMSEA = .031) เมื่อพิจารณา ตัวแปรส่งผ่าน พบว่าภาวนา 4 มีอิทธิพลทางอ้อมสูงกว่าอิทธิพลทางตรง หมายความว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น มีภาวนา 4 เป็นตัวแปรส่งผ่านที่ดี

Article Details

How to Cite
อตฺถปาโล (ชำนาญ) พ., แสงนนท์ เ., & ภูริปญฺโญ พ. (2022). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะพระสอนศีลธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/258031
บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา สินธพนธนบุตร. (2548). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูอาจารย์โรงเรียนฝึกอาชีพในทรรศนะของศิษย์เก่า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระปลัดปรีชา นนฺทโก. (2560). การศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลำพอง กลมกูล. (2554). อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนติดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทัศน์ จอกสถิต. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะความเป็นครูของครูกลุ่มเขตศรีนครินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม. (2550). คู่มือพระสอนศีลธรรม ประจำปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: เชนปริ้นติ้ง.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม..(2558). แผนยุทธศาสตร์พระสอนศีลธรรม ในช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร: เชนปริ้นติ้ง.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม. (2559). แผนแม่บทสำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: เชนปริ้นติ้ง.