การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครูในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครูในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้วยวิธี PNImodified และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน ด้านการสร้างแรงจูงใจของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน ด้านการสร้างแรงจูงใจของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รองลงมาคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการสร้างแรงจูงใจของนักเรียน ตามลำดับ ผลของการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครู ในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตปัญจภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรีต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72-74. (4 ต.ค. 2556).
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20. (10 มี.ค. 2562).
แจ้ง บุตรโสภา. (2556). สภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 5(1). 35-61.
ธัญญาภรณ์ คำแก้ว. (2562). ผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความรับผิดชอบในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 14(3). 121-134.
พูนสุข อุดม. (2548). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 8(2). 66-75
มโนธรรม ทองมหา. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำนึกรับผิดชอบของครูในผลการเรียนรู้ของนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. แหล่งที่มา www.pisathailand.ipst.ac.th สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2564.
สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2562 - 2579). กรุงเทพมหานคร: โคคูนแอนด์โค.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. แหล่งที่มา www.otepc.go.th สืบค้นเมื่อ 8 มิ.ย. 2564.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. แหล่งที่มา www.dictionary.orst.go.th สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2564.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560). ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ประจำปี 2560. แหล่งที่มา www.spe.go.th สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2564.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี. (2563). ข้อมูลสารสนเทศและดัชนีทางการศึกษาจังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2563. แหล่งที่มา www.saraburipeo.go.th สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2564.
สุกิจ ทวีศักดิ์. (2555). การพัฒนาคู่มือเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ขาดแรงจูงใจ: การวิจัยแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตรา คุณวัฒน์บัณฑิต. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของครูในผลการเรียนรู้ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Joshua M. Englehart. (2009). Teacher-Student interaction. International Handbook of Research on Teachers and Teaching. 711–722.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Lauermann, Fani, & Karabenick, Stuart A. (2011). Taking teacher responsibility intoaccount (ability): Explicating its multiple components and theoretical status. Educational Psychologist. 46(2). 122-140.
Lauermann, Fani, & Karabenick, Stuart A. (2013). The meaning and measure of teachers' sense of responsibility for educational outcomes. Teaching and Teacher Education. 30. 13-26.
Lee, V. E., & Smith, J. B. (1996). Collective responsibility for learning and its effects on gains in achievement for early secondary school students. American Journal of Education. 104(2). 103-147.
Nollkaemper, André, & Jacobs, Dov. (2012). Shared Responsibility in International Law: A Conceptual Framework. Mich. J. Int'l L. 34. 359.
Wahlstrom, Kyla L, & Louis, Karen Seashore. (2008). How teachers experience principal leadership: The roles of professional community, trust, efficacy, and shared responsibility. Educational Administration Quarterly. 44(4). 458-495.