การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ฐิตภัสร์ จรัสแสงวีรชัย
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
เมธี ธรรมวัฒนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ จำนวน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ จำนวน 3 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มีสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 84.33/82.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐาน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

How to Cite
จรัสแสงวีรชัย ฐ., ศิริสวัสดิ์ เ., & ธรรมวัฒนา เ. (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 10(1), 44–57. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/252773
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2550). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการงานเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 1 แนวคิดการจัดการงานเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเชษฐ์ บุญยง. (2554). การพัฒนาความเข้าใจ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุในระบบสุริยะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมเทคนิคการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ATLAS). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. (2554). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 3(1). 104-112.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). งานและพลังงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2544). ชีวสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สุระ บรรจงจิตร. (2551). Avtive learning ดาบสองคม. วารสารโรงเรียนนายเรือ. 8(1). 37-38.

สุวธิดา ล้านสา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวรรณโณ ยอดเทพ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5 Es. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.