ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กนกรัตน์ ธนะชัย
ปริญญา ทองสอน
สมศิริ สิงห์ลพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเมรี่อิมมาคุเลตคอนแวนต์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 49 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-group pretest-posttest design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) เจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ มีเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประกายมาศ ทองหมื่น. (2554). การใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ในการอ่าน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

มณีรัตน์ ผลประเสริฐ. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 1 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิคการสอนแบบ Jigsaw). รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วารสารวิชาการ. 5(2). 11-17.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิชัย วงใหญ่. (2552). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (มิติใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการดําเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณกระทรวงศึกษาธิการ 2549 ปแหงการปฏิรูปการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

สุกัญญา อิ่มใจ. (2548). การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยกลุ่มแบบ STAD กับแบบ Jigsaw. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อดุสิทธิ์ คิดรัมย์. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนแบบร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุดม รัตนอัมพรโสภณ. (2544). การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.