ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกูเกิ้ลคลาสรูม เรื่อง การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่

Main Article Content

นิชาภัทร อมรพันธุ์
ดุสิต ขาวเหลือง
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกูเกิ้ลคลาสรูม เรื่อง การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบอินโฟกราฟิก ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกูเกิ้ลคลาสรูมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนชลกันยานุกูล จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกูเกิ้ลคลาสรูม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกูเกิ้ลคลาสรูม เรื่อง การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2  เท่ากับ  84.85 / 80.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ เรื่องการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อมรพันธุ์ น., ขาวเหลือง ด., & จรัสรวีวัฒน์ ส. (2021). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกูเกิ้ลคลาสรูม เรื่อง การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(3), 99–111. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/248525
บท
บทความวิจัย

References

กุลนาถ ประทุมเทา. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานและบทบาทของคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม และสุภนิตา สุดสวาท. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์เพื่อการผลิตหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิติรัตน์ แก่นนคร. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนเปี่ยมสุวรรณวิทยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, ไพบูลย์ เกียรติโกมล, เสกสรรค์ แย้มพินิจ. (2546). การออกแบบและผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

โรงเรียนชลกันยานุกูล. (2560). รายงานคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2560. ชลบุรี: โรงเรียนชลกันยานุกูล. (เอกสารอัดสำเนา).

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.