หลักสูตรฝึกอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้วยการศึกษาและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ผู้บริหารโรงเรียนและครู 90 คน ด้วยแบบทดสอบวัดผลก่อนและหลังการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบที (t - test) ด้วยค่าสถิติ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมด้วยแบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรม โดยผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) จุดมุ่งหมาย (2) เนื้อหาสาระ (3) กิจกรรมฝึกอบรม (4) สื่อประกอบการฝึกอบรม และ (5) การวัดและประเมินผล 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมที่ได้สร้างขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าอบรม หลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรม ในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และเมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านที่ 3 ด้านความเป็นประโยชน์ของหลักสูตร ด้านที่ 4 ด้านการนำไปใช้ ด้านที่ 1 ด้านความถูกต้องและความเหมาะสมของหลักสูตร และด้านที่ 2 ด้านความเหมาะสมของหลักสูตร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เวลากับเนื้อหาสาระมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กนกกร ปราชญ์นคร. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะข้าราชการประจำศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดจังหวัด. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561. แหล่งที่มา https://www.isat.or.th/sites/default/files/4.%20 4.%20มาตรฐานการศึกษา%202561.pdf สืบค้นเมื่อ 30 มี.ค. 2563
จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาญณรงค์พรรุ่งโรจน์. (2557). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
เยาวทิวา นามคุณ และฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 10(3). 56.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาพยาบาลตามโครงการผลิตวิชาชีพพยาบาลเพิ่ม เพื่อแก้ปัญหาในเขตพื้นที่ชายแดนภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สันต์ ศูนย์กลาง. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 “ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2560). การประกันคุณภาพการศึกษา (Education Quality Assurance). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2537). หลักสูตรและการจัดมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.
Conbrach. L. (1990). Course Improvement Evaluation Teacher College Record. New York.
Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions inEducation Evaluation. Journal of Aesthetic Education. 10. 192-193.
Goldstein I. L. (1993). Training in Organizations: Needs Assessment, Development and Evaluation. 3rd ed. California: Brooks Cole.
Wilson, C.E.A. (1995). A Vision of a preferred curriculum for the 21st century : Action Research in school administration. From https://www.samford.edu.pbl Retrieved January 8, 2007