รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พระจำรัส กุลพันธ์
วัลนิกา ฉลากบาง
วาโร เพ็งสวัสดิ์
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี แบ่งการดำเนินการวิจัยเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนารูปแบบ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน และกรณีศึกษาโรงเรียนดีเด่น 2 โรงเรียน ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 756 รูป/คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.41-0.95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การใช้อำนาจของผู้บริหาร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 245.46, df = 340, p-value = 0.99, c2/df = 0.72, RMSEA = 0.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.97 โดยประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการได้รับอิทธิพลทางตรงจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสูงสุด รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม และการบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการบริหารแบบมีส่วนร่วม และได้รับอิทธิพลรวมจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสูงสุด รองลงมา คือ การทำงานเป็นเป็นทีม โดยตัวแปรในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 49.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
กุลพันธ์ พ., ฉลากบาง ว., เพ็งสวัสดิ์ ว., & เสถียรนพเก้า พ. (2020). รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(1), 98–109. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/240945
บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ นนท์ยะโส. (2557). รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชาฤนี เหมือนโพธิ์ทอง. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนัณฎา ประจงใจ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภัทร ทรัพย์ชม. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญเสริม สำราญดี. (2555). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระเอกลักษณ์ เพียสา. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดมหาเถรสมาคม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(2). 41-42.

วราภรณ์ ชาเรืองเดช. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของทีมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(1). 26-27.

ศมนภร นาควารี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 31. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. แหล่งที่มา https://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2560.pdf. สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2561.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. แหล่งที่มา https://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2560.pdf. สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2561.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (พ.ศ. 2553 – 2562). นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 ครั้งที่ 1. นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สิทธิกร อ้วนศิริ. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. รายงานการวิจัย. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สิริกร ทิติยวงษ์. (2556). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริญาพร มุกดา. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อานนท์ หล้าหนัก. (2551). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.