การหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 แบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยนาฏศิลป

Main Article Content

ชัยพร สว่างวรรณ์
พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
ชาลินี สุริยนเปล่งแสง
ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1แบบโมเดลซิปปา (Cippa model ) สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยนาฏศิลป ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 แบบโมเดลซิปปา (Cippa model) สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยนาฏศิลป โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยนาฏศิลป  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2562 จำนวน 33 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นนักเรียนสาขาดุริยางค์สากลทั้งหมด ระยะเวลาที่ใช้ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง จำนวน 12 ชั่วโมง โดยใช้ชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1แบบโมเดลซิปปา (Cippa model) สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนด้านกระบวนการของชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1แบบโมเดลซิปปา (Cippa model) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.74/89.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้ง คือ 80/80 2)  คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1แบบโมเดลซิปปา (Cippa model) พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สว่างวรรณ์ ช., พร้อมสุขกุล พ., สุริยนเปล่งแสง ช., & เอี่ยมยี่สุ่น ป. (2020). การหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 แบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยนาฏศิลป. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(1), 185–196. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/240830
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะสาระดนตรี. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีดนตรีสากล. กรุงเทพมหานคร: เกศกะรัต

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพาวดี วงษ์เพ็ญ. (2551). บทบาทของครูกับสื่อการเรียนการสอน. วารสารการศึกษาไทย. 4 (48). 10-13.

วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชา ศิลปกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรีสากล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.

สมนึก อุ่นแก้ว. (2549). ทฤษฎีดนตรีแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส (1989 )

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Taylor, Eric. (2019). The AB Guide to Music Theory part 1. England:ABRSM (Publishing) Ltd. a wholly owned subsidiary of ABRSM.