ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบความรักที่มีต่อความเป็นความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบความรัก และตัวอย่างการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนวัดวังน้ำเขียว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และแบบวัดพฤติกรรมความเป็นความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบความรักมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
จิตตรี พละกุล และเมษา นวลศรี. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมความเป็นความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษา เขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14(1). 1-22.
นวรัตน์ ธัญญศิริ. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 19(1). 67-81.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์. (2559). การสอนความเป็นพลเมืองด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงแสน. 1(2). 72-85.
ภัทราพร เกษสังข์. (2558). รูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิทยาการวิจัย. 28(3). 341-363.
รุ่งอรุณ ปิยะฤทธิ์ และวลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นโดยประยุกต์ใช้โมเดลเลิฟที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาวิชาเพชรบุรีศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED). 10(1). 161-174.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. แหล่งที่มา http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf สืบค้นเมื่อ 30 มี.ค. 2566.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวรรณ จุลมั่ง. (2565). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 17. พิษณุโลก: สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 กระทรวงศึกษาธิการ.
อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัสหมะ หะยียูโซะ. (2565). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” หรือโมเดลเลิฟ (LOVEMODEL) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สำหรับการสอนสุขศึกษา : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิชาเพศศึกษาและวิชาสวัสดิศึกษา. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2563). โมเดลเลิฟกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 8(1). 233-245.
Fraillon, J., Schulz, W. & Ainley, J. (2012). ICCS 2009 Asian Report: Civic Knowledge and Attitudes among Lower-Secondary Students in Five Asian Countries. From https://www.iea.nl/sites/default/files/2019-05/ICCS_2009_Asian_Report.pdf Retrieved March 30, 2023.
Havighurst, R. J. (1972). Developmental tasks and education. New York: David McKay.
Hoskins, B. (2006). Draft framework on indicators for active citizenship. Ispra: CRELL.
Westheimer, J. & Kahne, J. (2004). What Kind of Citizen? The Politics of Educating for Democracy. American Educational Research Journal. 41(2). 237-269.