ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบที่มีต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พงษ์ลัดดา แสงจันทร์
รังรอง งามศิริ
จริยาภรณ์ สกุลพราหมณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยในระยะก่อนทดลอง และระยะหลังทดลองจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบและศึกษาพัฒนาการของพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย ในระยะก่อนทดลอง ระยะทดลองและระยะหลังทดลองจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านหนองสาหร่าย ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.60-1.00 มีค่าความสอดคล้องในการสังเกตเท่ากับ 0.87 และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบ  มีค่าความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับแผนเท่ากับ 1.00 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 4.58 เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า แผนการจัดประสบการณ์ใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบ มีประสิทธิภาพมากที่สุด การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบอนุกรมเวลา ซึ่งมีการสังเกต 3 ระยะ คือ ระยะก่อนทดลอง ระยะทดลอง และระยะหลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลพัฒนาการของพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยในระยะก่อนทดลอง ระยะทดลอง และระยะหลังทดลองโดยใช้กราฟเส้น ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยในระยะหลังทดลอง สูงกว่าระยะก่อนทดลองจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบ 2) พัฒนาการของพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยในระยะก่อนทดลอง ระยะทดลองและระยะหลังทดลองจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบ มีแนวโน้มสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
แสงจันทร์ พ. ., งามศิริ ร. ., & สกุลพราหมณ์ จ. . (2024). ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบที่มีต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(1), 80–90. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/268525
บท
บทความวิจัย

References

กรรยา พรรณนา. (2559). จิตสาธารณะสร้างได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ พะทำโล. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 16(1). 77-78.

พิมพ์ชนก นุชเนตร. (2560). การสังเกตและพฤติกรรมการเลียนแบบจากรายการเซเลบบล็อก. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รังรอง งามศิริ. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู. กาญจนบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ศุภลักษณ์ บำรุงพันธ์. (2555). ผลการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายทอง ธัญนายก. (2559). การจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการมีจิตใจที่ดีงามของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 14(2). 74.