แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเรื่องการบวก ในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

นุจรินทร์ เอ็มชัยภูมิ
เอื้อจิตร พัฒนจักร
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวคิดทางคณิตศาสตร์เรื่องการบวกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน คูคำพิทยาสรรพ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การบวก (2) จำนวน 4 แผน การถ่ายภาพผลงานเขียนในการแก้ ปัญหาของนักเรียน โพรโทคอลการแก้ปัญหาที่ได้จากการถอดความจากเสียงและภาพในวีดิทัศน์ชั้นเรียน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยวิเคราะห์โพรโตคอล การบรรยายเชิงวิเคราะห์เพื่อสำรวจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่แสดงออก ตามกรอบของ Shimizu [21] ประกอบด้วย ความเข้าใจ (understanding) การคำนวณ (computing) การประยุกต์ ใช้ (applying) การให้เหตุผล (reasoning) และการลงมือปฏิบัติ (engaging) จากนั้นนำแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนมาจำแนกรูปแบบ โดยใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ตามนิยามศัพท์ในหนังสืออภิธานศัพท์สำหรับ หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 1) การแยกตัวบวก 2) การแยกตัวตั้งบวก 3) การแยกตัวตั้งบวกและแยกตัวบวก ผลการวิจัยพบว่า จากการสำรวจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดย อาศัยกรอบของ Shimizu [21] ตั้งแต่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 4 ทุกแผนเกิดแนวคิดทางคณิตศาสตร์ครบทั้ง 5 ด้าน ซึ่งเมื่อนำแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นมาจำแนกรูปแบบแนวคิดทางคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ตามนิยามศัพท์ในหนังสืออภิธานศัพท์สำหรับหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถจำแนกแนวคิด ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการบวก จำนวน 34 ผลงาน แต่ละผลงานถือว่าเป็น 1 แนวคิด และแต่ละแนวคิดถูกนำมา จำแนกตามนิยามความหมายการบวกใน 3 รูปแบบตามกรอบการสำรวจแนวคิดได้ดังนี้ 1) รูปแบบการบวกแบบ การแยกตัวบวก ได้ 22 แนวคิด 2) รูปแบบการบวกแบบการแยกตัวตั้งบวก ได้ 10 แนวคิด 3) รูปแบบการบวกแบบการแยกตัวตั้งบวกและแยกตัวบวก ได้ 2 แนวคิด ในแต่ละแนวคิดนักเรียนมีการแสดงวิธีแก้ปัญหาโดยมีการใช้ไดอะแกรม การบวกประกอบการเขียนเป็นภาษาเขียน และมีรายละเอียดความสัมพันธ์ของการใช้ลูกศรกับภาษาพูด

 

Students’ Mathematical Ideas on Addition in Classroom Using Lesson Study and Open Approach

Nutcharin Emchaiyapum1) Auijit Pattanajak*2) and Dr. Maitree Inprasitha**3)

1)Centre of Excellence in Mathematics, CHE, Si Ayutthaya RD.,Bangkok 10400, Thailand

2)Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

3)Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

This study was aimed to survey mathematical ideas on addition of grade-1 students at Kookham Pittayasan School, where has used Lesson Study and Open Approach. The data collection procedure was done by using the lesson plans on unit 8 on addition (2) for the total of 4 plans. The photographic works of stu-dents’ solutions and protocols of the solution from the transcription of audio and video files recorded in the classroom. The protocol analysis was used to analyze data. Narrative analysis had been added to the procedure to investigate students’ mathematical ideas expressed through the framework of Shimizu (2013) which includes understanding, computing, applying, reasoning and engaging. The mathematical ideas were then classified into forms by using mathematical ideas on addition. According to the definitions in the glossary of grade 1 mathematics textbook, there are three forms: decomposition of augends, decomposition of addend, and decomposition of augends and addend. The result of the study found that in survey of mathematical ideas by using Shimizu’s framework (Shimizu, 2013) of lesson plan 1 to 4, the mathematical ideas occurred in all five areas which later were classified accordingly to the mathematical addition. The glossary’s definition of grade 1 mathematics textbooks could classify the mathematical ideas of addition into 34 works. Each work is one idea and each idea can be classified accordingly to the definition of addition in 3 types from the survey framework: 22 ideas of augends decomposition, 10 ideas of addend decomposition, and 2 ideas of augends and addend decomposition. In each idea, students performed the solution by writing a diagram of addition which has details of relations by using arrows and verbal language.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)