การพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าพื้นเมือง พัฒนาหลักสูตร และประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รักษาการรองผู้อำนวยการและครูผู้สอนระดับปฐมวัย หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งสิ้น 13 คน 2) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการทอผ้าพื้นเมือง จำนวน 15 คน 3) สร้าง พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถด้านหลักสูตรและการสอน การศึกษาปฐมวัย การศึกษา จำนวน 5 คน 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านถ้ำเจริญ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ทั้งหมดจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์ค่าร้อยละ (%) และค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความต้องการให้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมือง เนื่องจากบริบทของหมู่บ้านวิถีชาวภูไทที่มีการทอผ้ามาอย่างยาวนานสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นที่สามารถนำมาสร้างเนื้อหาที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียน 2) ชุมชนบ้านถ้ำเจริญเป็นชาวภูไทเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่สุดอพยพมาจากจังหวัดสกลนคร อำเภอวานรนิวาส อำเภอส่องดาว และอีกส่วนหนึ่งได้มีการอพยพมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ เพื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านหินโง่นจึงได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกายที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ชนเผ่าภูไท คติความเชื่อที่นำเอาดอกดาวเรืองถวายพระมาถักทอเป็นผ้าพื้นเมืองเพื่อการสวนใสในชีวิตประจำวัน 3) หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมือง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับคุณภาพดีมากมีความเหมาสม แสดงว่าเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สามารถนำไปใช้ได้ และแผนการจัดประสบการณ์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับคุณภาพดีมากมีความเหมาะสม แสดงว่าเป็นแผนการจัดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ 4) การประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ภายหลังการใช้หลังสูตรท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กปฐมวัยคิดเป็นร้อยละ (%) หลังการอบรมเท่ากับ 87.67 และสูงว่าก่อนการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเท่ากับ 60.50
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). แนวโน้มนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2561, จากhttps://www.ocac.go.th/document/information/information_2716.pdf
กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2550). หัตถกรรมผ้าทอพื้นบ้าน: กรณีศึกษาหัตถกรรมผ้าทอกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน: 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ: โชติสุข.
ชนากานต์ แสนใส. (2550). การพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วีพรินท์ 1991.
ชรินทร์ มั่นคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลาธิป สมาหิโต. (2553). คู่มือการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพศึกษานิเทศก์และครูปฐมวัย. [มปป.]: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
ณัฐธิดา ดวงแก้ว. (2565). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 17(2), 129-143.
ธนพรรณ เพชรเศษ และเคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ธีรพร อเนกศิลป์. (2545). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นระดับปฐมวัยศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
นฤมล เนียมหอม. (2558). เปิดสถานการณ์ของเด็กปฐมวัย มุ่งติดตั้งแต่วัยอนุบาล. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวั/
เนาวมาศ นามเมือง. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องผ้าทอกระเหรี่ยงเพื่อพัฒนผลิตภัณฑ์ผ้าทอวิถีเขียวโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพฑูรย์ สิลลารัตน์. (2554). CCPR กรอบคิดแนวใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มะลิวรรณ ศรีพันธ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าฝ้ายย้อมโคลนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: การวิจัยแบบผสมผสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่ง แก้วแดง. (2561). 13 ปี มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย..สถานการณ์ยังวิกฤต. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก https://www.kroobannok.com/83892#google_vignette
วิภาพรรณ พินลา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ท้องถิ่นศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2558). เปิดสถานการณ์ของเด็กปฐมวัย มุ่งติดตั้งแต่วัยอนุบาล. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564.. จาก https://www.thaihealth.or.th/เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวั/
ศิริมงคล ทนทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย. (2562). การเอาชนะวิกฤตเด็กปฐมวัยสู่ประเทศไทย 4.0. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก http://www.preschool.or.th/early-childhood-crisis.php
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางารบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทยปี 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Beauchamp, G. A. (1981). Curriculum Theo. (4th ed.). Lllinois: F.E.Peacock.
David G, A. (1989). Developing and Documenting the Curriculum. Publisher: Allyn and Bacon.
Sarah E, W.(2000). Local Curriculum Development and Place-Based Education. Ph.D, University of Denver. Page 2176.
Corninne M, L. (2005). An Assessment of Teachers views of Local Environmental Education and its Impact on their Curricula and Teaching Methodology in a Maryland Elementary School EdD Wilmington College. (Delaware).
Heckman, J. J. (2008). The Case for Investing in Disadvantaged Young Children. Mimeo University of Chicago.