การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ และ 2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 390,254 คน (สำนักนโนบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2566) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) จักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบประเมินคุณภาพของสื่อจักรวาลนฤมิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของจักรวาลนฤมิตเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02 และ 2) ผลประเมินคุณภาพพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กนกภรณ์ ทรวดทรง และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมทักษะการสร้างแบบจำลองและมโนทัศน์ เรื่อง สารละลายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 46-57.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 16-29.
พจนา ศรีกระจ่าง และลัดดา ศุขปรีดี. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม; 9(1), 155-165.
รัฐเดช เซ็ง. (2565). การพัฒนาห้องเรียนเสมือนจริงด้วยจักรวาลนฤมิตร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะทางเทคโนโลยีวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.