การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา โดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เอกพล เขียวปาน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 14 ชั่วโมง แบบประเมินผลงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การขึ้นรูปดินด้วยวิธีการขด และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น โดยมีรูปแบบกลุ่มเดียววัดผลครั้งเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า


      1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6   มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 95.50  2) ผลการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82  แปลผลได้ว่าอยู่ในระดับคุณภาพ  มากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

กาญณภัทร อรอินทร์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไชยเดช แก้วสง่า. (2554). การสร้างสื่อมัลติมีเดียประกอบการสอนแบบเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องการขึ้นรูปแบบหล่อภาชนะเครื่องเคลือบดินเผา (เซรามิค). (รายงานการวิจัย) ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชลลดา เมาะราษี. (2556). เพื่อศึกษาผลการเรียนที่ใช้วิธีสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับด้านบนเครือข่ายสังคมในรายวิชาการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ณพพร คล้ายแดง. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (flipped classroom) ในรายวิชาดนตรี เรื่อง ประเภทเครื่องดนตรีตะวันตกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทัศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 21103. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวิริยาสาสน.

ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2538). เครื่องเคลือบดินเผา: เทคนิคและวิธีการ สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2556). กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้ ครูมิใช่ผู้มอบความรู้อีกต่อไป ในศตวรรษที่ 21. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 7(1), 34-35.

ไปรยา ประดิพัทธ์ลาวัณย์ และวัชรินทร์ ศรีรักษา. (2560). การพัฒนาหลักสูตรทัศนศิลป์บูรณาการงานอาชีพ ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันเฉลิม อุดมศรี. (2556). การพัฒนาความสามารถการคิดเชิงบูรณาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 และ 2 ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วัชรินทร์ ศรีรักษา. (2541). เอกสารคำสอนวิชา 215 262 การสร้างงานศิลปะระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.อักษรเจริญทัศน์ [อจท.]. (2551). สื่อการเรียนรู้ฯ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

เอกพล เขียวปาน. (2562). ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bergmann, J. and Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Washington, DC: ISTE.

Jeremy, F.S. (2007). The Effect of the Classroom Flip on the Learning Environment: A Comparison of Learning Activity a Traditional Classroom and a Flip Classroom that used an Intelligent Tutoring System. Ph.D. Dissertation, Department of Anthropology, Graduate School, Ohio State University.

Kachka, P. (2012). Educator’s Voice: What’s All this Talk about Flipping. Retrieved August 7, 2012, from http://www.pearsonlearningsolutions.com/academic-executives/blog/tag/flipped-classroom/.