รูปแบบการพัฒนา Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

Main Article Content

Mookrawee Pinidluek

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา  2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนา Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) มีการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 260 คน โดยใช้เกณฑ์สำหรับกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น 20 เท่าของจำนวนตัวแปร ตามแนวคิดของ Hair et al.,  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำนวน 30 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเที่ยง โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค (Cronbach’s alpha Coefficient) ที่มีค่าตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป ซึ่งค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.970 ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสร้างรูปแบบการพัฒนา Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษาและประเมินรูปแบบด้วยวิธีการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิโดยประเมินความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า


1) องค์ประกอบของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบหลัก 13 ตัวบ่งชี้ มี 5 องค์ประกอบ 13 ตัว ได้แก่ 1) ความท้าทายในการทำงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) การหาแบบอย่างและแรงบันดาลใจ มี 3 ตัวบ่งชี้        3) การยอมรับความสำเร็จ มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) การเรียนรู้จากปัญหาและเผชิญความล้มเหลว มี 2 ตัวบ่งชี้ และ 5) การเรียนรู้จากคำวิจารณ์และข้อติชม มี 2 ตัวบ่งชี้


2) ผลการทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า X2= 24.313, df  = 19,  / df  = 1.279, P-Value = 0.184, RMSEA = 0.033, SRMR = 0.023, CFI = 0.998, TLI  = 0.991


3) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนา Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ เป้าหมายสู่ความสำเร็จ และแนวทางปฏิบัติ พบว่า มีผลการปะเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชนิตา รุ่งเรือง และ เสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วารสารวิทยาการ วิจัยและวิทยาการปัญญา , 14(1), 1-13.

นันท์นภัส ลิ้มสันติธรรม (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ STEMGM เพื่อส่งเสริมกรอบแนวคิดเติบโต และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชัชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

นิทัสน์ มาสาลี, วัลลภา อารีรัตน์, เสาวนี สิริสุขศิลป์ (2565). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 12(3),199-203.

ประกฤติยา ทักษิโณ. (2559). เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย LISREL และ MPLUS: ความรู้พื้นฐานก่อนการวิเคราะห์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระยุทธ แสนพินิจ (2562). รูปแบบการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา : การวิจัยผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และคณะ (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของชุดความคิดแบบเติบโต สำหรับนักศึกษา วิชาชีพครู. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(3),162-175.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2564). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาประจำปีการศึกษา 2564. [ม.ป.ป.]: ขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 - 2565. จาก https://www.ocsc.go.th/civilservice

อรพิน โคตรวิทย์ และคณะ (2563). ความต้องการจําเป็นในการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 141-153.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Dweck, C.S. (2006a). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House.

Keeves, J.P. (1988). Model and Model building. Oxford: Pergamon Press.