ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน

Main Article Content

ธีรนัย เฉลิมวงศ์
ศิริพงษ์ เพียศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความเป็นนวัตกร เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2) ศึกษาความเป็นนวัตกรของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 3) ศึกษาความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงานที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ ชุดวิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง แบบประเมินผลงาน (Rubric Score) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจหลังเรียน แบบประเมินทักษะความเป็นนวัตกร แบบประเมินความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงาน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้จากทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.98 คิดเป็นร้อยละ 89.77 และผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 90.91 2) ความเป็นนวัตกรของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี  ( =2.46, S.D=0.33) 3) ความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( =2.59, S.D=0.23) 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( =4.64, S.D.=0.21)


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความเป็นนวัตกร เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2) ศึกษาความเป็นนวัตกรของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 3) ศึกษาความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงานที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ ชุดวิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ดินสอพอง แบบประเมินผลงาน (Rubric Score) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจหลังเรียน แบบประเมินทักษะความเป็นนวัตกร แบบประเมินความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงาน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้จากทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.98 คิดเป็นร้อยละ 89.77 และผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 90.91 2) ความเป็นนวัตกรของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี  ( gif.latex?\bar{x}=2.46, S.D=0.33) 3) ความเป็นนวัตกรรมของชิ้นงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}=2.59, S.D=0.23) 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.64, S.D.=0.21)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2558). Flipping Your Class: ห้องเรียนกลับทาง. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2558, จาก http://www.eqd.cmu.ac.th/Innovation/media/2558/Jantawan.pdf

จันทิมา ปัทมธรรมกุล. (2557). Flipped Classroom. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559, จาก https:// ww.piyanutphrasong025.wordpress.com.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2565). การจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงาน สร้างสรรค์สำหรับนักเรียน. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(2), 6-8.

ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (2555). การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรััชญา ซื่่อสััตย์์ และวิิสููตร โพธิ์เงิิน. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์, 49(1), 1-19.

ปนทอง วิหารธรรม และพงศ์ธนัช แซจู. (2560). ผลการจัดการเรียนรูแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน, 11(2), 4-8.

พัชรพร อยู่ยืน, อภิญญา ภูมิโอตา และศิระ ศรีโยธิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นนวัตกร: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ PUNN. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะครั้งที่ 4 “การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0”. (หน้า 827-833). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชญา กล้าหาญ และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2), 4-7.

ภัทรนันท์ ไวทยะสิน. (2562). “เปลี่ยน” ผู้เรียนเป็นนวัตกร นวัตกรรมใหม่ของการเรียนการสอนในยุคการศึกษา 4.0. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ECT, 1(17), 7-12.

ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. (2541). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

นภสร ยลสุริยัน และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดแบบ STEM EDUCATION เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 1-6.

นันทวันท์ แช่มขุนทด และวัชรินทร์ ศรีรักษา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 1-5.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรััชญา ซื่่อสััตย์์ และวิิสููตร โพธิ์เงิิน. (2564). การพััฒนาชุุดกิิจกรรมพััฒนาผู้้เรียน โดยใช้้การจัดการเรียนรู้้ตามแนวคิด STEAM ร่่วมกัับโครงงานเป็นฐาน เพื่่อส่่งเสริิมความเป็นนวััตกรและผลงานสร้้างสรรค์์หุ่นกระบอก สำหรัับนัักเรีียนชั้นมััธยมศึึกษาตอนต้้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(1), 1-5.

ปิ่นทอง วิหารธรรม และพงศ์ธนัช แซ่จู. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 164-175.

มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: เอส อาร์.พริ้นติ้ง.

วันวิสาห์ ธนะพันธ์พิพัฒน์ และประชา พิจักขณา. (2565). การศึกษาและพัฒนาแป้งโดว์จากดินสอพอง ของเล่นเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือ เด็กอายุ 6-12 ปี. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตรและการออกแบบ มทร. พระนคร, 1(1), 2-8.

สุชา จันทร์เอม. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ

ที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการ ประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2. ห้องประชุมเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2 (ส่วน 2). วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อรุณี เจริญทรัพย์, หนึ่งฤทัย แจ้งสุวรรณ์ และจิราวรรณ ฉายาวัฒน์. (2563). การประยุกต์ใช้ดินสอพองในงานหัตถศิลป์ไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 7-12.

เอกพล เขียวปาน. และวัชรินทร์ ศรีรักษา. (2562). ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 โดยจัดการเรียนรูแบบหองเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์เรื่อง การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน, 13(1), 1-8.

เอกราช ตาแก้ว. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู เรื่อง ธาตุและสารประกอบ โดยการจัดการเรียนรูแบบสืบเสาะหา ความรูรวมกับแนวคิดหองเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4. วารสารวิทยาศาสตรและวิทยาศาสตรศึกษา, 4(1), 1-6.

Afzali, H. & Izadpanah, S (2022). The effect of the classroom is inverted on critical thinking and performance to learn the grammar of Iranian learners. Journal of Language Horizons, Alzahra University, 6(1), 11-16.

Bergmann, J. & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. United States of America: ISTE and ASCD.

Chak-Him, F., Michael, B & Kin-Keung, P. (2021). The systematic literature review of the classroom reversed course in mathematics. Hong Kong: The Education University of Hong Kong.

Dyer, J., Gregersen, H., & Chistensen, C. M. (2011). The innovator's DNA: Mastering the five skills of disruptive Innovators. Harvard Business School.

Educause. (2012). Things You Should Know Aboutflipped Classrooms. Retrieved November 19, 2015, from https://www.net.educause.edu/ir/library/pdf/ eli7081.pdf

Flipped Learning Network (FLN). (2014). The Four Pillars of F-L-1-P. Retrieved 9 March 2022, from www.flipped learning.org/definition

Li-Chu, T., Shih-Yen, L., Hsiang, Y. & Jen-Chia, C. (2020). The impact of the classroom is turned against the creativity of students in the Cake Decorating Club. [n.p.]: Original Research published.

University Lab Partners. (2019). What is the difference between an inventor, entrepreneur and innovator?. Retrieved 9 March 2022, from https://www.universitylabpartners.org/blog/difference-inventor-entrepreneur-innovator