การพัฒนาทักษะการเขียนและการอ่านตัวอักษรฮิระงะนะเสียงพิเศษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 3Ps
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนและการอ่านตัวอักษรฮิระงะนะเสียงพิเศษให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการแบบ 3Ps กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการจำนวน 4 วงจร โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบย่อย 3) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน t-test dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบ 3Ps มีประสิทธิภาพ 73.26/73.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ในการสอนวิธีการเขียนและการอ่านตัวอักษรฮิระงะนะเสียงพิเศษสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการ
เรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชัยศร รองเดช. (2560). การศึกษาปัญหาการออกเสียงและการรับรู้พยัญชนะเดี่ยวภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทยถิ่นใต้.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณิชานันท์ ไชยศรี. (2559). การสอนตัวอักษรคาตาคานะให้แก่ผู้เรียนชาวไทย กรณีศึกษานักเรียนอาชีวศึกษา.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประภา แสงทองสุข และคณะ. (2554). ฮิระงะนะเรียนสบาย สไตล์โคะฮะรุ. กรุงเทพฯ : ภาษาและวัฒนธรรม.
พิทยรัศมิ์ แย้มประยูร. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ผสมผสานเทคนิคการแบ่งกลุ่ม
เพื่อพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาจีนในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ภัณทิชา อำนวยวิทยากุล, สุดาพร พงษ์พิษณุ และ วลัยพรรณ บุญมี (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ
การพูดภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดหนองแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 50-65.
วัชรา สุยะรา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจดจำตัวอักษรฮิระงะนะสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น.
JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 18(4), 29-39.
สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูต และ ธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND
0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 175-186.
องอาจ นามวงศ์. (2554). Active 3Ps : บทบาทการจัดการเรียนรู้ที่ครูควรเปลี่ยน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
(3-4), 1-9.
อนันตกานต์ ภูถ้ำแก้ว. (2559). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการ
เรียนรู้แบบ 3Ps ประกอบแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
A Corporation. (2549). มินนะ โนะ นิฮงโกะ 1: แบบเรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ภาษาและ
วัฒนธรรม.
Artha, D. J. & Yasmin, N. (2022) The Implementation of Presentation Practice Production (PPP) Technique to
Improve Students’ Speaking Skill by Using Picture Card as a Media. Jurnal Riset Ilmu Pendidikan,
(3), 197-204.
Byrne, D. (1986). Teaching Oral English. Harlow: Longman.
Carless, D. (2009) Revisiting the TBLT versus PPP debate: Voices from Hong Kong. Asian Journal of English
Language Teaching, 19, 49-66.
Harmer, J. (1996). Is PPP dead?. Modern English Teacher, 5(2), 1-17.
Japan Foundation. (2023). Survey Report on Japanese-Language Education Abroad 2021. Tokyo: The Japan
Foundation.
Katemba, C. V. (2022), Vocabulary Enhancement through Presentation, Practice, Production (PPP) Method in the Rural EFL Classrooms, JELPEDLIC, 7(1), 88-101.
Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.
McGibney, S. (2022). The most studied foreign languages in the US, and in the world.
Retrieved February 17, 2023, from https://www.newsdle.com/blog/most-studied-foreign-languages
Sofan, N. (2017). The Application of Presentation, Practice, Product (PPP) Technique Toward
Students’ Vocabulary Achievement. Master degree thesis. University of Pancasakti Tegal.