การส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยการนิเทศแบบสอนงานและการให้คำปรึกษา

Main Article Content

ธัญญา กาศรุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนิเทศแบบสอนงานและการให้คำปรึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยชั้นเรียนและประเมินสมรรถนะการวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์                 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพหุกรณีศึกษา (Multi Case Study Research) มีกรณีศึกษาจำนวน 6 คน คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 โรงเรียนในจังหวัด  สุราษฎร์ธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินสมรรถนะการวิจัยชั้นเรียน และการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ       สุราษฎร์ธานีปีการศึกษา 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)  ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการนิเทศแบบสอนงานและการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สามารถสรุปเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การเตรียมการก่อนการทำวิจัย (Design) ขั้นที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Practice) ขั้นที่ 3 การสะท้อนผลหลังการสอน (Feedback) และ ขั้นที่ 4 การปรับปรุงและพัฒนาการสอน (Revise) และผลการประเมินสมรรถนะการวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ทั้ง 6 คน มีสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2562). คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2562). การวิจัยชั้นเรียน: กระบวนการสร้างความรู้เพื่อใช้พัฒนาการเรียนการสอน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญญา กาศรุณ. (2561). การส่งเสริมสมรรถนะการสอนคณิตศาสตร์ของครูด้วยการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 10(s), 179 –188.

ปารณีย์ ขาวเจริญ ดวงใจ สีเขียว และ ชมพูนุท สุขหวาน. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยวิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงของครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 19(1), 125-136.

พาสนา ชลบุรพันธ์. (2560). รูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของ ผู้เรียนระดับการศึกษาพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ และ ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัย ในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา :การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(2), 306 - 323.

โรซวรรณา เซพโฆลาม รูฮัยซา ดือราแม และ โซฟีลาน มะดาแฮ. (2564). สมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(2), 275 - 293.

วรภาคย์ ไมตรีพันธ์. (2553). บทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรา เครือคำอ้าย และ ชวลิต ขอดศิริ. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมนักวิจัย. 24(1), 121-135.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 37(1), 203-222.

Gordon, S. P. (2004). Professional development for school improvement: Empowering learning communities. Boston: Pearson Education.

Guskey, T. R. (2000). Evaluating professional development. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Inprasitha, M. (2022), "Lesson study and open approach development in Thailand: a longitudinal study", International Journal for Lesson and Learning Studies, 11(5), 1-15.

Nohda, N. (2000). Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. Proceedings of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME), July 23-27, 2000. Hiroshima, Japan.