วิทยาศาสตร์สัมพันธ์วรรณกรรมศึกษา: แนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบูรณาการและการประเมินเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Main Article Content

น้ำเพชร นาสารีย์
กิตติพงษ์ แบสิ่ว

บทคัดย่อ

เมื่อกล่าวถึงรายวิชาวิทยาศาสตร์และวรรณกรรม โดยส่วนใหญ่มักถูกจัดจำแนกออกจากกันอย่างชัดเจน ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาที่มีความเป็นปรนัยและอัตนัยที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองศาสตร์จัดเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ที่สามารถหลอมรวมอยู่ด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์กับวรรณกรรมรวมถึงการประเมินเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอแนวคิดสำคัญและตัวอย่างที่เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อชี้ให้เห็นว่าการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามสาระ โดยมีประเด็นเรื่องเป็นแกนในการจัดการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหา บูรณาการทักษะ และเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และวรรณกรรม และใช้วิธีวิทยาของทั้งวิทยาศาสตร์และวรรณกรรมควบคู่กันไปร่วมกับการพัฒนาทักษะทางภาษาอันจะเป็นประโยชน์จากการเชื่อมโยงความรู้สู่การแสวงหาความรู้ได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความเทคนิค (Technical Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลธวัช ศรีจรรยา และกุลรัญญา พรหมเมืองยอง. (2542). “การศึกษาสมบัติการย้อมของสีธรรมชาติที่แยกได้จากพืชพื้นบ้านบางชนิด โดยใช้สารช่วยติดจากธรรมชาติ.” ปัญหาพิเศษภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2560). วิธีการและเครื่องมือประเมินการเรียนรู้. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2563). “การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง.” ใน วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48 (3), 78-89.

ชุลีกานต์ สายเนตร. (2560). “แทนนิน: สารจากธรรมชาติสู่การเป็นสารช่วยให้ติดสีของผ้าภูอัคนี ณ หมู่บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์.” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1 (2), 67-76.

ธีระชัย ปูรณโชติ. (2540). “การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ.” ใน การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาเรื่อง กระบวนการเรียนรู้ตามแนว Constructivism และ Constructionalism. โดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย ณ โรงแรมรอยัลเบญจา, 1-13.

พรทิพย์ แข็งขัน และชยพร กระต่ายทอง. (2553). โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ ใน คู่มือฝึกอบรมภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, (55-115). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรมน ผลประพฤติ และวิวัฒน์ เพชรศรี. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 1(1), 37-54.

วิมล ดำศรี. (2540). เพลงกล่อมเด็กภาคใต้: การศึกษาเชิงวิเคราะห์กรณีศึกษาเมืองครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศิลปากร, กรม. (2546). เสภาขุนช้างขุนแผน เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.อโนดาษ์ รัชเวทย์ และเจษฎาพล กิตติพัฒนวิทย์. (2561). “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติโดยใช้สารช่วยย้อมด้วยน้ำแร่ธรรมชาติและโคลนจากภูโคลน จังหวัดแม่ฮ่องสอน.” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Brookhart, S. M. (2011). “Educational Assessment Knowledge and Skills for Teachers.” In Educational Measurement: Issues and Practice, 30, 3-12.

Kim, M. K., & Cho, M. K. (2015). Design and implementation of integrated instruction of mathematics and science in Korea. EURASIA Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 11(1), 3-15.

Carter, R. and Long, Michael N. (1991). Teaching literature. New York: Longman.

Pallegoix, Jean Baptiste. (1854). สัพะ พะจะนะ พาสา ไท. Paris: Jussu Imperatoris Impressum.

Sun, D., Wang, Z. H., Xie, W. T., & Boon, C. C. (2014). Status of integrated science instruction in junior secondary schools of China: An exploratory study. International Journal of Science Education, 36(5), 808-838.

Savvidou, C. (2004) “An Integrated Approach to Teaching Literature in the EFL Classroom.” In The Internet TESL Journal, X (12) Retrieve from http://iteslj.org/Techniques/Savvidou-Literature.html