ผลของการใช้โปรแกรม Moodle ในการอบรมออนไลน์ เรื่องความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

Main Article Content

กรรณิการ์ ภาสดา
กาญจนา สุรีย์พิศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม Moodle และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางความรู้และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่อบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ และฝึกอบรมแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสมัครใจเข้าร่วมการฝึกอบรม และใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน ดังนี้ กลุ่มควบคุม ได้รับการฝึกอบรมแบบปกติ และกลุ่มทดลอง ได้รับการอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ เครื่องมือในการทดลอง คือ หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ ซึ่งพัฒนาตามหลักการของ ADDIE model เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางความรู้ของการฝึกอบรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 โดยทั้ง 2 ฉบับมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00


ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅=4.77, S.D.=0.11) และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 1.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ (Meguigans) โดยผลสัมฤทธิ์ทางความรู้ของนักศึกษากลุ่มทดลองที่อบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅=19.22, S.D.=0.93) ซึ่งสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ฝึกอบรมแบบปกติ (𝑥̅=18.08, S.D.=1.31) ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษามีระดับความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.30, S.D.=0.68) โดยมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกับการอบรมแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 4 ปี พ.ศ. 2563-2566 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564). นครปฐม : กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล.

กาญจนา วัฒนายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

ชญาภา ศุภวรวงศ์, ฐิติชัย รักบำรุง และนคร ละลอกน้ำ. (2564). การพัฒนาชุดอบรมออนไลน์ เรื่อง การป้องกันและระงับ

อัคคีภัย สำหรับกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2),

-22.

ชินพงษ์ ทีสุกะ และสมบูรณ์ ชาวชายโขง. (2563). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(76), 181-190.

ธัญญธร เมธาลักษณ์, มธุวัลย์ ศรีคง, สุพัตรา สว่างกุล, เยาวลักษณ์ แก้วมณี, อติพร ตวงทอง และงามแข เรืองวรเวทย์.

(2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของสื่อการสอนโปรแกรม Moodleเรื่องการใช้ direct phthalmoscope ในรายวิชาจักษุวิทยา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 12(3), 147-152.

ธีรัช รำแพนเพชร. (2564). การพัฒนาความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านชุดบทเรียน ออนไลน์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(2), 13-25.

น้องนุช ธราดลรัตนากร และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิง ปฏิสัมพันธ์ ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของครูประจำการ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 247-260.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 145-163.

พัลลภ สุวรรณฤกษ์. (2563). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอน

ออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2557). ผลการเรียนรู้เรื่องบัญชีครัวเรือนผ่าน e-learning. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการ

สื่อสาร, 9(1), 86-97.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). เทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

ฤชา รัตนศีล และพีระพงษ์ พรมจันทร์. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกลของนักเรียนนายเรือ ด้วยบทเรียนออนไลน์โปรแกรม Moodle. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11), 38-53.

ฤทัย ประทุมทอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใชเทคนิคการเรียนรูแบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการสอนแบบ MIAP รายวิชาไมโครคอนโทรลเลอร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(3), 110-121.

วรานันท์ อิศรปรีดา. (2564). การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสริมทักษะ

การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 330-342.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2564. นครปฐม : ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุุรชาติ อาจทรััพย์์, ศิรประภา ขันคา และอภิภู สิทธิภูมิมงคล. (2558). ประสิทธิผลผลการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Moodle สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

(กรณีศึกษาวิชา วกกฬ 217 การนาเสนอสารสนเทศทางการกีฬา ปีการศึกษา 2556). วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 2(1), 81-89.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, ปิยะนุช ชูโต และนงลักษณ์

เฉลิมสุข. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

พยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ), 129-140.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิญญา ศรีจันทร์, วีระ ไทยพานิช และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2557). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การสร้าง

ภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 120-127.

โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. (2558). คู่มือการประเมินความปลอดภัย

ห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alibak M, Talebi H & Neshatdoost H. (2019). Development and Validation of a Test Anxiety Inventory for

Online Learning Students. Journal of Educators Online. 16(2).

Care E. (2018). Twenty-first century skills: From theory to action. In Assessment and Teaching of 21st

Century Skills. Springer Cham 2018: 3-17.

Hodges, C., Moore, S., Lockee, B., Trust, T., & Bond, A. (2020). The Difference between Emergency Remote Teaching and Online Learning. Retrieved November 15, 2021, from https://er. educause.edu/articles/2020/3/the-difference- between-emergency-remote -teaching-and- online-learning.

Lalima & Dangwal, K. L. (2017). Blended Learning: An Innovative Approach. Universal Journal of

Educational Research. 5(1), 129-136.

Mitsikopoulou, B. (2018). English and digital literacies unit 6.1: Introduction to Webqusts. Greece: National

and Kapodistrian, University of Athens.

OECD. (2021). OECD Series on principles of good laboratory practice and compliance monitoring

Number 1 (as revised in 1997). Retrieved 2 April 2021, from https://www.oecd.org/

officialdocume nts/publicdisplaydocumentpdf/?cote=env/mc/chem(98)17&doclanguage=en

OSHA. (2021). Hazard recognition & solutions: safety and health. Retrieved 2 April 2021, from

https://www.osha.gov/SLTC/laboratories/ hazard_recognition.html.https://www.os

ha.gov/laboratories